วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ธรรมบท. ๔

ธรรมบท ๔ อย่าง ๑. บทธรรมคือความไม่เพ่งเล็ง ๒. บทธรรมคือความไม่พยาบาท ๓. บทธรรมคือความระลึกชอบ ๔. บทธรรมคือความตั้งใจไว้ชอบ

ปฏิปทา ๔ อย่าง



ปฏิปทา ๔ อย่าง

๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา [ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า]

๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา [ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว]

๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา [ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า]

๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา [ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว]




ปฏิปทาอีก ๔ อย่าง

๑. อักขมา ปฏิปทา [ปฏิบัติไม่อดทน]

๒. ขมา ปฏิปทา [ปฏิบัติอดทน]

๓. ทมา ปฏิปทา [ปฏิบัติฝึก]

๔. สมา ปฏิปทา [ปฏิบัติระงับ]





ความเกิดขึ้นแห่งตัณหา ๔ อย่าง

ความเกิดขึ้นแห่งตัณหา ๔ อย่าง
 ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งจีวร 
๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งบิณฑบาต 
๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ
๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งความมียิ่งๆขึ้นไป

วิญญาณฐิติ ๔ อย่าง



วิญญาณฐิติ ๔ อย่าง

๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งรูปเมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่วิญญาณนั้นมี รูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ฯ

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งเวทนา เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ วิญญาณ นั้นมีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอก งามไพบูลย์ ฯ

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสัญญา เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ วิญญาณ นั้นมีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอก งาม ไพบูลย์ ฯ

๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสังขาร เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ วิญญาณ นั้นมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอก งาม ไพบูลย์ ฯ

ปฏิสัมภิทา 4


ปฏิสัมภิทา 4 (ปัญญาแตกฉาน - analytic insight; discrimination)
       1. อัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ, ปรีชาแจ้งในความหมาย, เห็นข้อธรรมหรือความย่อ ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถคิดแยกแยะกระจายเชื่อมโยงต่อออกไปได้จนล่วงรู้ถึงผล - discrimination of meanings; analytic insight of consequence)
       2. ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม, ปรีชาแจ้งใจหลัก, เห็นอรรถาธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อได้ เห็นผลอย่างหนึ่ง ก็สามารถสืบสาวกลับไปหาเหตุได้ - discrimination of ideas; analytic insight of origin)
       3. นิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ, ปรีชาแจ้งในภาษา, รู้ศัพท์ ถ้อยคำบัญญัติ และภาษาต่างๆ เข้าใจใช้คำพูดชี้แจ้งให้ผู้อื่นเข้าใจและเห็นตามได้ - discrimination of language; analytic insight of philology)
       4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ, ปรีชาแจ้งในความคิดทันการ, มีไหวพริบ ซึมซาบในความรู้ที่มีอยู่ เอามาเชื่อมโยงเข้าสร้างความคิดและเหตุผลขึ้นใหม่ ใช้ประโยชน์ได้สบเหมาะ เข้ากับกรณีเข้ากับเหตุการณ์ - discrimination of sagacity; analytic insight of ready wit; initiative; creative and applicative insight)


http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=155

สี่ อย่างนี้ ย่อมไม่ เต็ม

[๓๑๒] ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พราหมณ์ผู้ประเสริฐชื่อนารทะ รู้ชัดซึ่งคาถาทั้งเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดของพญาแร้งอานนท์แล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ในเวลานั้นว่า ดูกรพญานก ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้ากล่าว
มหาสมุทร ๑
พราหมณ์ ๑ พระราชา ๑ 
หญิง ๑ 
สี่อย่างนี้ ย่อมไม่ เต็มแม่น้ำสายใด 
สายหนึ่งอาศัยกามรสทุกอย่าง หญิงยังกระทำความพอใจในชายคนที่ ๙ อีก เพราะฉะนั้น
หญิงจึงชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง หญิงทุกคนกินทุกอย่างเหมือน เปลวไฟ พาไปได้ทุกอย่างเหมือนแม่น้ำ เหมือนกิ่งไม้มีหนาม ย่อมละ ชายไปเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ชายใดพึงวางความรักทั้งหมดในหญิง ชาย นั้นเหมือนดักลมด้วยตาข่าย เหมือนตักน้ำใส่มหาสมุทรด้วยมือข้างเดียว จะพึงได้ยินแต่เสียงมือของตน ภาวะของหญิงที่เป็นโจร รู้มาก หาความ จริงได้ยาก เป็นอาการที่ใครๆ รู้ได้ยาก เหมือนรอยทางปลาในน้ำฉะนั้น หญิงไม่มีความพอ อ่อนโยน พูดเพราะ ให้เต็มได้ยาก เสมอแม่น้ำ ทำ ให้ล่มจม บุคคลรู้ดังนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล หญิงเป็นเหมือน น้ำวน มีมายามาก ทำพรหมจรรย์ให้กำเริบ ทำให้ล่มจม บุคคลรู้ดังนี้ แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล เมื่อหญิงคบบุรุษใด เพราะความพอใจ หรือเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ย่อมเผาบุรุษนั้นโดยพลัน เหมือนไฟป่าเผา สถานที่เกิดของตน ฉะนั้น. http://etipitaka.com/read/thai/28/85/?keywords=%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87

สามัญญผล ๔

[๒๔๒] สามัญญผล ๔ อย่าง ๑. โสดาปัตติผล ๒. สกทาคามิผล ๓. อนาคามิผล ๔. อรหัตตผล

องค์แห่งโสดาบัน ๔


[๒๔๑] องค์แห่งพระโสดาบัน ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความ เลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆพระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระ อรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นนาย สารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความ เลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุ จะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้ เฉพาะตน ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความ เลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติชอบ คือคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นั่นคือพระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรรับของบูชา เป็นผู้ควรรับของต้อนรับ เป็นผู้ควรรับของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นบุญเขตของชาวโลก ไม่มีเขตอื่นยิ่งกว่า ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยศีล ที่พระ อริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อัน ตัณหาและทิฐิ ไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ ฯ

องค์แห่งการบรรลุโสดา๔


[๒๔๐] องค์ของการบรรลุโสดา ๔ อย่าง ๑. สัปปุริสสังเสวะ [การคบสัตบุรุษ] ๒. สัทธัมมัสสวนะ [การฟังพระสัทธรรม] ๓. โยนิโสมนสิการ [การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย] ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ [การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม]

ญาณ๔อย่าง

ญาณ ๔ อย่าง ๑. ธัมมญาณ [ความรู้ในธรรม] ๒. อันวยญาณ [ความรู้ในการคล้อยตาม] ๓. ปริจเฉทญาณ [ความรู้ในการกำหนด] ๔. สัมมติญาณ [ความรู้ในสมมติ]
ญาณ ๔ อย่าง ๑. ทุกขญาณ [ความรู้ในทุกข์] ๒. ทุกขสมุทยญาณ [ความรู้ในทุกขสมุทัย] ๓. ทุกขนิโรธญาณ [ความรู้ในทุกขนิโรธ] ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานญาณ [ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา]

ปธาน ๔

ปธาน๔

       ปธาน ๔ อย่าง
๑. สังวรปธาน       [เพียรระวัง]
๒. ปหานปธาน       [เพียรละ]
๓. ภาวนาปธาน      [เพียรเจริญ]
๔. อนุรักขนาปธาน    [เพียรรักษา]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สังวรปธาน เป็นไฉน  ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย  ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจัก
ขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำ
นั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมโสติน
ทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น
ชื่อว่ารักษาโสตินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในโสตินทรีย์ ฯ




ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม
ฆานินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัส
ครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาฆานินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในฆานินทรีย์ ฯ
ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมชิว
หินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบ
งำนั้น ชื่อว่ารักษาชิวหินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในชิวหินทรีย์ ฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อ
สำรวมกายินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษากายินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในกายินทรีย์ ฯ
รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม
มนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบ
งำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
สังวรปธาน ฯ
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปหานปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย  ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ ย่อมไม่รับไว้ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย  บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึง
ความไม่มี ย่อมไม่รับไว้ซึ่งพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป
ให้ถึงความไม่มี ย่อมไม่รับไว้  ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป
ให้ถึงความไม่มี ย่อมไม่รับไว้ซึ่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วๆ ย่อมละเสีย  บรร
เทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่าปหานปธาน ฯ
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภาวนาปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ
น้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลาย
กำหนัด อาศัยความดับอันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์อันอาศัยความ
สงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญปีติ
สัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัย
ความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญปีติสมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัย
ความคลายกำหนัด อาศัยความดับอันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อันอาศัยความสงัดอาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง
ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน ฯ
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อนุรักขนาปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย  ภิกษุในพระ
ธรรมวินัยนี้ ย่อมตามรักษาสมาธินิมิตอันเจริญที่บังเกิดขึ้นแล้ว คืออัฏฐิกสัญญา ปุฬุวกสัญญา
วินีลกสัญญา วิจฉิททกสัญญา อุทธุมาตกสัญญาผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน
http://etipitaka.com/read?keywords=อุปาทานขัน&language=thai&number=178&volume=11#

อปัสเสนะ๔ อย่าง

อปัสเสนะ ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วเสพของอย่างหนึ่ง ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วเว้นของอย่างหนึ่ง ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง ฯ

อริยวงศ์๔

อริยวงศ์ ๔ อย่าง 
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตาม ได้ และมีปรกติกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้และย่อมไม่ถึงการแสวงหาที่ ไม่ควร ไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่งจีวร และไม่ได้จีวรก็ไม่เดือดร้อน และได้จีวรแล้วก็ไม่เกี่ยว เกาะ ไม่หมกมุ่น ไม่ติดแน่น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ในสันโดษด้วยจีวรนั้น ดูกรผู้มีอายุทั้งหลายภิกษุนี้แล เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม ฯ 

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมี ตามได้ และมีปรกติกล่าวสรรเสริญ ความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และย่อมไม่ถึง การแสวงหาที่ไม่ควร ไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต และไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่เดือดร้อน และได้บิณฑบาตแล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่หมกมุ่น ไม่ติดแน่น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็น เครื่องสลัดออกบริโภคอยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมี ตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นในสันโดษด้วยบิณฑบาต นั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้แล เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม ฯ

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมี ตามได้ และมีปรกติกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และย่อมไม่ถึงการ แสวงหาที่ไม่ควร ไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ และไม่ได้เสนาสนะก็ไม่เดือดร้อน และ ได้เสนาสนะแล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่หมกมุ่น ไม่ติดแน่น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่อง สลัดออกบริโภคอยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นในสันโดษด้วยเสนาสนะนั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้แล เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม ฯ
๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้มีปหานะเป็นที่มายินดี ยินดี แล้วในปหานะ ย่อมเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในภาวนากับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีปหานะเป็นที่มายินดี เพราะความยินดีในปหานะ เพราะความเป็นผู้มีภาวนา เป็นที่มายินดี เพราะความยินดีในภาวนานั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นในปหานะและภาวนานั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้แล เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของ
เก่าอันยอดเยี่
http://etipitaka.com/read?keywords=อุปาทานขัน&language=thai&number=178&volume=11#
เก่าอันยอดเยี่ยม ฯ

อรูป ๔ อย่าง

[๒๓๕] อรูป ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการ ทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สิ้นสุดมิได้ ดังนี้ อยู่ ฯ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดย ประการทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่าน้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้อยู่ ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ ฯ


http://etipitaka.com/read?keywords=อุปาทานขัน&language=thai&number=178&volume=11#

อัปปมัญญา ๔

อัปปมัญญา ๔ อย่าง

 ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอด ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าในที่ทุกสถาน โดยความเป็นตนในสัตว์ทั้งปวง ด้วย ใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียด เบียนอยู่ ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปตลอด ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน โดยความเป็นตนในสัตว์ทั้งปวง ด้วยใจอันประกอบด้วยกรุณาอันไพบูลย์ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความ เบียดเบียนอยู่ ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปตลอด ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน โดยความเป็นตนในสัตว์ทั้งปวง ด้วยใจอันประกอบด้วยมุทิตาอันไพบูลย์ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความ เบียดเบียนอยู่ ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไป ตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้อง ล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน โดยความเป็นตนในสัตว์ ทั้งปวง ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ฯ

วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สิ่งที่ไกลกันแสนไกล ๔ ประการ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไกลกันแสนไกล ๔ ประการ นี้ ๔ ประการเป็นไฉนดูกรภิกษุทั้งหลาย 

ฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่ไกลกันแสนไกลประการที่ ๑ 
ฝั่งนี้และฝั่งโน้นแห่งสมุทร นี้เป็นสิ่งที่ไกลกันแสนไกลประการที่ ๒ 
พระอาทิตย์ยามขึ้นและยามอัสดงคตนี้เป็นสิ่งที่ไกลกันแสนไกลประการที่ ๓ 
ธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ นี้เป็นสิ่งที่ไกลกันแสนไกลประการที่ ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไกลกันแสนไกล ๔ ประการนี้แล ฯ



พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต





จะรู้ว่าเสื่อมจากอกุศลธรรมหรือไม่ ให้พิจารณาธรรม ๔ อย่างในตน

พระสาริบุตรแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ว่า ภิกษุ ภิกษุณี
จะรู้ว่าเสื่อมจากอกุศลธรรมหรือไม่ ให้พิจารณาธรรม ๔ อย่างในตน
 คือความเป็นผู้

ไพบูลด้วย
ราคะ, 
โทสะ, 
โมหะ 
และปัญญาจักษุของผู้นั้นไม่เป็นไปในฐานะที่ควรและไม่ควรอันลึกซึ้ง.http://www.baanjomyut.com/pratripidok/prasudtanpidok/1304.html

๔ ไม่ใช่มิตรแท้

บัณฑิตรู้แจ้งมิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ 
มิตรปอกลอก ๑ 
มิตรดีแต่พูด ๑ มิตรหัวประจบ ๑
มิตรชักชวนในทางฉิบหาย ๑ 
ว่าไม่ใช่มิตรแท้ ดังนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล เหมือนคนเดินทางเว้นทางที่มีภัย ฉะนั้น ฯ

http://etipitaka.com/read?keywords=มิตรแท้&language=thai&number=143&volume=11

มิตร ๔ เป็นมิตรแท้

ดูกรคฤหบดีบุตร มิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ 
มิตรมีอุปการะ ๑ 
มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑
มิตรแนะประโยชน์ ๑ 
มิตรมีความรักใคร่ ๑ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรมีใจดี [เป็นมิตรแท้] ฯ

http://etipitaka.com/read?keywords=มิตรแท้&language=thai&number=143&volume=11

วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ภูมิที่เกิดอันปราศจากความเจริญ มี ๔

อบายภูมิ๔

[อะบายยะพูม] น. ภูมิที่เกิดอันปราศจากความเจริญ มี ๔ คือ 

นรก 

เปรตวิสัย

 อสุรกายภูมิ 

และกําเนิดดิรัจฉาน. (ป. ส. อปาย).

http://dictionary.sanook.com/search/dict-th-th-royal-institute/อบายภูมิ

วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ธรรม ๔ อย่างว่า เป็นไปเพื่อความเลอะเลือน เพื่ออันตรธาน แห่งพระสัทธรรม



ตรัสแสดงธรรม ๔ อย่างว่า เป็นไปเพื่อความเลอะเลือน เพื่ออันตรธาน แห่งพระสัทธรรม คือ


๑. ภิกษุทั้งหลายเรียนพระสูตรด้วยบทพยัญชนะที่ยกขึ้นผิด มีเนื้อความอันแนะนำผิด


๒. ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก


๓.ภิกษุผู้สดับตรับฟังมากไม่สอนผู้อื่นให้ท่อง จำพระสูตรโดยเคารพ เมื่อภิกษุผู้สดับฟังมากเหล่านั้นล่วงลับไป พระสูตรก็ชื่อว่ามีมูลรากอันขาด ( ไม่มีผู้ทรง จำได้ ) ก็ไม่เป็นที่พึ่ง


๔. ภิกษุผู้เป็นเถระเป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เอาแต่นอนหลับทอดธุระในความสงัด ไม่ปรารภ ความเพียรเพื่อบรรลุธรรมที่ยังมิได้บรรลุ ทำให้คนรุ่นหลังถือเป็นตัวอย่าง. ในทางดีทรงแสดงโดยนัย ตรงกันข้าม.



http://th.m.wikipedia.org/wiki/ภิกษุ

กัปป์ที่นับไม่ได้ ๔ อย่าง

ทรงแสดงกัปป์ที่นับไม่ได้ ๔ อย่าง๑ 
 คือ
สังวัฏฏกัปป์. 
สังวัฏฏัฏฐายีกัปป์, 
วิวัฏฏกัปป์, 
วิวัฏฏัฏฐายีกัปป์

 ทั้งสี่กัปป์นี้นับไม่ได้โดยง่ายว่า เท่านี้ปี, เท่านี้ ร้อยปี, พันปี, แสนปี.


วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส ๔ประการ

สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส ๔ประการ
นี้ ๔ประการเป็นไฉน คือ
สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส
ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ๑
ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๑ 
ในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน ๑ 
ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ๑ 


ขอบคุณข้อมูลจาก
http://etipitaka.com/read?keywords=วิปลาส&language=thai&number=51&volume=21#

วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

คุณธรรม อันเป็นเครื่องให้เจริญอย่างยิ่ง ๔ ประการ

คุณธรรม อันเป็นเครื่องให้เจริญอย่างยิ่ง ๔ ประการนี้ คือ
สัจจะ ๑ ธรรม ๑
ธิติ ๑
จาคะ ๑
ผู้นั้น ย่อมล่วงพ้นศัตรูได้.

สัจจะ" แปลว่า ความสัตย์ ความซื่อ ถ้าขยายความตามศัพท์แยกได้ 3 ลักษณะคือ มีความจริง ความตรง และความแท้จริง
http://th.wikipedia.org/wiki/สัจจะ



ทมะ แปลว่า การรู้จักข่มจิตข่มใจตนเอง ทมะ หมายถึง ความรักในการฝึกฝนตนเอง ความกระตือรือร้นในการเคี่ยวเข็ญฝึกฝนตนเอง อย่างไม่มีข้อแม้เงื่อนไข เพื่อให้ตนเองมีทั้งความรู้ ความสามารถ และความดีเพิ่มพูนมากขึ้นทุกวัน เกิดเป็นคนต้องหมั่นปรับปรุงตนเองอยู่เรื่อยไป อย่าอยู่กับที่ ขณะที่คนอื่นเขาวิ่งบ้าง เดินบ้าง แม้ที่สุดกำลังคลานอยู่ ถ้าเรามัวนอนหลับ ก็เท่ากับเรากำลังถอยหลัง เรื่องฝึกตัวเป็นสิ่งสำคัญ ใครที่มีผู้ใต้บังคับบัญชามาก ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ทหาร ข้าราชการ พ่อค้าอะไรก็ตาม หากไม่ฝึกตัว ไปไม่รอด นอกจากต้องฝึกทางด้านวิชาการตลอดแล้ว ยังต้องฝึกแก้นิสัยใจคอตัวเองอีกด้วย ฝึกแก้นิสัยตัวเองคือ ฝึกตัวด้านคุณธรรมนั่นเอง เพราะการที่เราฝึกแก้นิสัยที่ไม่ดีของตนเอง จะทำให้เรามีความพร้อมที่จะยอมรับการอบรมสั่งสอน จากคนอื่นๆ ซึ่งจะเป็นทางมาแห่งปัญญาที่สำคัญ ทมะ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
ทันต่อกิเลส หมายถึง รู้เท่าทันกิเลสภายในตัวของเรา รู้ว่าอะไร คือสิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิต อะไรคือสิ่งฟุ่มเฟือย สิ่งไร้สาระ ไม่เกิดประโยชน์ เพราะการที่เราทันต่อกิเลสนั้น เราจะรู้จักยับยั้งไม่ให้หลงไปกระทำในสิ่งที่ไม่ดี
ทันคน หมายถึง รู้เท่าทันคนที่เราต้องติดต่อ คบค้าสมาคม เพื่อรู้เท่าทันความคิดของเขาว่า จะส่งผลดีหรือไม่ดีต่อตัวของเราหรือหน้าที่การงานของเราอย่างไร
ทันโลก หมายถึง รู้เท่าทันโลก รู้ว่าโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด และเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เพื่อที่เราจะสามารถปรับตัวได้ทัน
ทันธรรมชาติ หมายถึง รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศในแต่ละฤดูกาล ทั้งนี้เพื่อจะได้ดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม และวางแผนการทำงานให้เหมาะสมกับสภาพอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นในแต่ละฤดูกาลด้วย

ทันโลก สามารถแบ่งได้เป็น 4 เรื่องhttp://th.wikipedia.org/wiki/ทมะ




ขันติ (สันสกฤต: kṣānti' ,กษันติ) หมายถึง การรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนา หรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน ซึ่งไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะมีคนเทอะไรลงไป ของเสีย ของหอม ของสกปรกหรือของดีงามก็ตาม
ลักษณะความอดทนที่ถูกต้อง[แก้]
อดทนถอนตัวหรือหลีกเลี่ยงจากความชั่วให้ได้
อดทนทำความดีต่อไป
อดทนรักษาใจไว้ไม่ให้เศร้าหมองhttp://th.wikipedia.org/wiki/ขันติ

จาคะ แปลว่า ความเสียสละ, การแบ่งปัน, ความเอื้อเฟื้อ มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า ทาน และ บริจาค

จาคะ หมายถึงการสละสิ่งของและความสุขส่วนตัวเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น และหมายรวมถึงการสละละทิ้งกิเลส ละความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความตระหนี่ ความใจแคบ และการเลิกละนิสัย ตลอดถึงความประพฤติที่ไม่ดี ที่ทำให้เกิดความเสียหาย ก่อความบาดหมางทะเลาะเบาะแว้ง เป็นต้นด้วย











วันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ห้วงน้ำแห่งกุศล๔

ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงน้ำคือบุญ ห้วง น้ำคือกุศล ๔ ประการนี้
นำมาซึ่งความสุข มีอารมณ์งาม มีสุขเป็น วิบาก ยังสัตว์ให้เป็นไปในสวรรค์ เป็นไปพร้อมเพื่อผลอันน่าปรา รถนา เพื่อผลอันน่าใคร่ เพื่อผลอันน่าพึงใจ เพื่อประโยชน์ เพื่อ


ความสุข ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเมื่อบริโภค จีวรของบุคคลใด เข้าเจโตสมาธิหาประมาณมิได้อยู่ ห้วงน้ำคือบุญ ห้วงน้ำคือกุศล ของบุคคลนั้น ก็หาประมาณมิได้ นำมาซึ่งความสุข มีอารมณ์งาม มีสุขเป็นวิบาก ยังสัตว์ให้เป็นไปในสวรรค์ เป็นไป พร้อมเพื่อผลอันน่าปรารถนา เพื่อผลอันน่าใคร่ เพื่อผลอันน่าพึงใจ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ภิกษุ เมื่อบริโภคบิณฑบาต ฯลฯ เมื่อบริโภคเสนาสนะ ฯลฯ เมื่อบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของ บุคคลใด เข้าเจโตสมาธิหาประมาณมิได้อยู่ ห้วงน้ำคือบุญ ห้วงน้ำ คือกุศล ของบุคคลนั้น ก็หาประมาณมิได้ นำมาซึ่งความสุข มีอารมณ์ งาม มีสุขเป็นวิบาก ยังสัตว์ให้เป็นไปในสวรรค์ ย่อมเป็นไปพร้อม เพื่อผลอันน่าปรารถนา น่าใคร่ เพื่อผลอันน่าพึงใจ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงน้ำคือบุญ ห้วงน้ำคือกุศล ๔ ประการนี้แล นำมาซึ่งความสุข มีอารมณ์งาม มีสุขเป็นวิบาก ยังสัตว์
ให้เป็นไปในสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อผลอันน่าปรารถนา เพื่อผลอัน น่าใคร่ เพื่อผลอันน่าพึงใจ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ดังนี้
 
ฯลฯ

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๓๗
พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
หน้าที่ ๔๗๑/๘๔๒ข้อที่ ๑๑๕๑-๑๑๕๒
http://etipitaka.com/read?keywords=ความสุข&language=thai&number=470&volume=37#

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

วาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยเหตุ ๔ ประการ


ฯลฯ
อมราวิกเขปิกทิฏฐิ ๔
[๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง มีทิฏฐิ ดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูก ถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจา ดิ้นได้ไม่ตายตัวด้วยเหตุ ๔ ประการ ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญพวกนั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆย่อมกล่าววาจา ดิ้นได้ไม่ตายตัวด้วยเหตุ ๔ ประการ?
๑๓. (๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ไม่รู้ชัดตามความเป็น จริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล ก็ถ้าเราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล จะพึง พยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล หรือนี้เป็นอกุศล คำพยากรณ์นั้นของเราจะพึงเป็นคำเท็จ คำเท็จของ เรานั้นจะพึงเป็นความเดือดร้อนแก่เรา ความเดือดร้อนของเรานั้นจะพึงเป็นอันตรายแก่เรา เพราะฉะนั้น เขาจึงไม่กล้าพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เพราะกลัวแต่การกล่าวเท็จ เพราะเกลียดการกล่าวเท็จ เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ จึงกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ความเห็น ของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๑ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิ ดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว. 

[๔๐] ๑๔. (๒) อนึ่งในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิ ดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจา ดิ้นได้ไม่ตายตัว? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็น อกุศล เขามีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล ก็ถ้าเราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล จะพึงพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล ความพอใจ ความติดใจ หรือความเคืองใจ ความขัดใจในข้อนั้น พึงมีแก่เรา ข้อที่มีความพอใจ ความติดใจหรือความเคืองใจ ความขัดใจนั้น จะพึงเป็นอุปาทานของเรา อุปาทานของเรานั้นจะพึงเป็นความเดือดร้อนแก่เรา ความเดือดร้อนของเรานั้นจะพึงเป็นอันตราย แก่เรา เพราะฉะนั้นเขาจึงไม่กล้าพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เพราะกลัวแต่อุปาทาน เพราะเกลียดอุปาทาน เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ความเห็น ของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิ ดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว

[๔๑] ๑๕. (๓) อนึ่ง ในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็น อกุศล เขามีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล ก็ถ้าเราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล จะพึงพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล หรือนี้เป็นอกุศล ก็สมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญาละเอียด ชำนาญการโต้วาทะเป็นดุจคนแม่นธนูมีอยู่แล แม้ว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นเที่ยวทำลายทิฏฐิด้วยปัญญา เขาจะพึงซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนเราใน ข้อนั้น เราไม่อาจโต้ตอบเขาได้ การที่โต้ตอบเขาไม่ได้นั้น จะพึงเป็นความเดือดร้อนแก่เรา ความเดือดร้อนของเรานั้น จะพึงเป็นอันตรายแก่เรา เพราะฉะนั้นเขาจึงไม่กล้าพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เพราะกลัวแต่การซักถาม เพราะเกลียดแต่การซักถาม เมื่อถูกถาม ปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ความเห็นของเราอย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้น ก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๓ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหา ในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.
[๔๒] ๑๖. (๔) อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นคนเขลา งมงาย เพราะเขลา เพราะ งมงาย เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ เขาจึงกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ถ้าท่านถามเราอย่างนี้ว่า โลกหน้ามีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า โลกหน้ามี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า โลกหน้ามี แต่ความ เห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ถ้าท่านถามเราว่า โลกหน้าไม่มีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่าไม่มี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่าไม่มี ... ถ้าท่านถามเราว่า โลกหน้ามีด้วย ไม่มีด้วยหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามีด้วย ไม่มีด้วย เราก็จะ พึงพยากรณ์ว่ามีด้วย ไม่มีด้วย ... ถ้าท่านถามเราว่า โลกหน้ามีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่หรือ ถ้าเรามี ความเห็นว่า โลกหน้ามีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ เราพึงพยากรณ์ว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ ... ถ้าท่าน ถามเราว่า สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามี ... ถ้าท่านถามเราว่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่าไม่มี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่าไม่มี ... ถ้าท่านถามเราว่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้น มีด้วย ไม่มีด้วยหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามีด้วย ไม่มีด้วย เราก็จะพึงพยากรณ์ ว่ามีด้วย ไม่มีด้วย ... ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่หรือ ถ้าเรามี ความเห็นว่ามีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ ... ถ้าท่านถามเราว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามี ... ถ้าท่าน ถามเราว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่าไม่มี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า ไม่มี ... ถ้าท่านถามเราว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่ว มีด้วย ไม่มีด้วยหรือ ถ้าเรามีความเห็น ว่า มีด้วย ไม่มีด้วย เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามีด้วย ไม่มีด้วย ... ถ้าท่านถามเราว่า ผลวิบาก แห่งกรรมที่ทำดีทำชั่ว มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ เราก็ จะพึงพยากรณ์ว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ ... ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายมีอยู่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามีอยู่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามีอยู่ ... ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย ไม่มีอยู่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่าไม่มีอยู่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่าไม่มีอยู่ ... ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายมีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วยหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วย เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วย ... ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายมีอยู่ ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ แต่ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๔ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจา ดิ้นได้ไม่ตายตัว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหา ในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยเหตุ ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ ไม่ตายตัวด้วยเหตุ ๔ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้น แล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ทราบความเกิดขึ้น ความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง จึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.

ฯลฯ


พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
หน้าที่ ๒๓/๓๘๓ข้อที่ ๔๐-๔๓

http://etipitaka.com


  • เพราะเกลียดการกล่าวเท็จ
  • เพราะกลัวแต่อุปาทาน เพราะเกลียดอุปาทาน
  • เพราะกลัวแต่การซักถาม เพราะเกลียดแต่การซักถาม
  • เพราะเขลา เพราะ งมงาย

วันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2557

ฌาน ๔



ฌาน ๔

ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยปฐมฌาน

ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยทุติยฌาน

ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยตติยฌาน

ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยจตุตถฌาน






พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
หน้าที่ ๓๓๘/๗๕๔ข้อที่ ๒๓๗





ฌาน (บาลี) หรือ ธยาน (สันสกฤต) หมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก

http://etipitaka.com/read?keywords=%E0%B8%8C%E0%B8%B2%E0%B8%99+%E0%B9%94&language=thai&number=338&volume=1

วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557

ตระกูล ๔



ตระกูล ๔ คือ

ตระกูลกษัตริย์

ตระกูลพราหมณ์

ตระกูลแพศย์

ตระกูลศูทร์.




พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
หน้าที่ ๖๔๖/๗๑๗ข้อที่ ๗๘๕-๗๘๖

วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557

ทักขิณาวิสุทธิ ๔ อย่าง



ทักขิณาวิสุทธิ ๔ อย่าง 
๑. ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกมีอยู่ ฯ 
๒. ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายกมีอยู่ ฯ
๓. ทักขิณาไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหกมีอยู่ ฯ 
๔. ทักขิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหกมีอยู่ ฯ



พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
หน้าที่ ๑๙๑/๒๘๘ข้อที่ ๒๖๗-๒๗๐

http://etipitaka.com




ปฏิคาหก แปลว่าผู้รับ
ทายก ที่แปลว่า ผู้ให้

การได้อัตภาพ ๔ อย่าง

การได้อัตภาพ ๔ อย่าง

๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของตนอย่างเดียว ไม่ตรง กับความจงใจของผู้อื่นมีอยู่ ฯ 
๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของผู้อื่นเท่านั้น ไม่ตรง กับความจงใจของตนมีอยู่ ฯ 
๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของตนด้วย ตรงกับความ จงใจของผู้อื่นด้วยมีอยู่ ฯ
 ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การได้อัตภาพที่ไม่ตรงกับความจงใจของตน ทั้งไม่ตรงกับ ความจงใจของผู้อื่นมีอยู่ ฯ



พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
หน้าที่ ๑๙๐/๒๘๘ข้อที่ ๒๖๔-๒๖๖

การก้าวลงสู่ครรก์ ๔ อย่าง



การก้าวลงสู่ครรก์ ๔ อย่าง


๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา เป็นผู้ไม่รู้สึกตัว อยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้ไม่รู้สึกตัว คลอดจากครรภ์มารดา นี้การก้าวลงสู่ ครรภ์ข้อที่หนึ่ง ฯ


๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้รู้สึกตัวก้าวลง สู่ครรภ์มารดา แต่เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้การก้าวลงสู่ครรภ์มารดาข้อที่สอง ฯ


๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้รู้สึกตัวก้าวลง สู่ครรภ์มารดา เป็นผู้รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา แต่เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้การ ก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่สาม ฯ


๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้รู้สึกตัวก้าวลงสู่ ครรภ์มารดา เป็นผู้รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้การก้าวลง สู่ครรภ์ข้อที่สี่ ฯ



พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
หน้าที่ ๑๙๐/๒๘๘ข้อที่ ๒๖๔-๒๖๖


http://etipitaka.com/read?keywords=%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%86%E0%B8%B0&language=thai&number=188&volume=11#

คันถะ ๔ อย่าง

คันถะ ๔ อย่าง

๑.อภิชฌากายคันถะ [เครื่องรัดกายคืออภิชฌา]
๒. พยาปาทกายคันถะ [เครื่องรัดกายคือพยาบาท] 
๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ [เครื่องรัดกายคือสีลัพพตปรามาส] 
๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ [เครื่องรัดกายคือความแน่ว่าสิ่งนี้ เป็นจริง] ฯ


พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
หน้าที่ ๑๘๙/๒๘๘ข้อที่ ๒๖๐-๒๖๓





อภิชฌา[อะพิดชา] น. ความโลภ ความอยากได้. (ป.).


พยาบาท [พะยาบาด] น. การผูกใจเจ็บคิดจะแก้แค้น การคิดปองร้าย ในคำว่าผูกพยาบาท. ก. ผูกใจเจ็บและอยากแก้แค้น ปองร้าย เช่น อย่าไปพยาบาทเขาเลย. (ป. พฺยาปาท วฺยาปาทส. วฺยาปาท).


สีลัพพตปรามาส (บาลี: สีลพฺพตปรามาส) เป็นศัพท์ในพระไตรปิฎกเถรวาท หมายความถึงความยึดมั่นถือมั่นอยู่ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือศีลพรตภายนอกพระพุทธศาสนา หรือความยึดมั่นถือมั่นในการบำเพ็ญเพียงกายและวาจาตามหลักธรรมพระพุทธศาสนา (ศีล) ของตนว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ ซึ่งเป็นเหตุให้ละเลยการปฏิบัติทางด้านจิตใจหรือการใช้ปัญญาเพื่อหลุดพ้น

อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ





วิสังโยคะ ๔ อย่าง

วิสังโยคะ ๔ อย่าง 
๑. กามโยควิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคือกาม] 
๒. ภวโยควิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคือภพ] 
๓. ทิฏฐิโยควิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคือทิฐิ] 
๔. อวิชชาโยคะวิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคืออวิชชา]


พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
หน้าที่ ๑๘๙/๒๘๘ข้อที่ ๒๖๐-๒๖๓


http://etipitaka.com/read?keywords=%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%86%E0%B8%B0&language=thai&number=188&volume=11#

โอฆะ ๔ อย่าง

โอฆะ ๔ อย่าง

๑. กาโมฆะ [โอฆะคือกาม] 
๒. ภโวฆะ [โอฆะคือภพ] 
๓. ทิฏโฐฆะ [โอฆะคือทิฐิ] 
๔. อวิชโชฆะ [โอฆะคืออวิชชา]


พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
หน้าที่ ๑๘๘/๒๘๘ข้อที่ ๒๕๕-๒๕๙


http://etipitaka.com/read?keywords=%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%86%E0%B8%B0&language=thai&number=188&volume=11

สัจฉิกรณียธรรม ๔ อย่าง

สัจฉิกรณียธรรม ๔ อย่าง

 ๑. พึงทำให้แจ้งซึ่งขันธ์ที่ตนเคยอยู่อาศัยในกาลก่อนด้วยสติ
 ๒. พึงทำให้แจ้งซึ่งจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลายด้วยจักษุ
 ๓. พึงทำให้แจ้งซึ่งวิโมกข์แปดด้วยกาย
 ๔. พึงทำให้แจ้งซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายด้วยปัญญา


พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
หน้าที่ ๑๘๘/๒๘๘ข้อที่ ๒๕๕-๒๕๙

http://etipitaka.com

กรรม ๔ อย่าง

กรรม ๔ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมเป็นฝ่ายดำ มีวิบากเป็นฝ่ายดำมีอยู่ 
๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมเป็นฝ่ายขาว มีวิบากเป็นฝ่ายขาวมีอยู่
๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมที่เป็นทั้งฝ่ายดำและฝ่ายขาว มีวิบากทั้งฝ่ายดำฝ่ายขาวมีอยู่ 
๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมที่ไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไป เพื่อความสิ้นกรรมมีอยู่ ฯ


พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๑พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรคหน้าที่ ๑๘๘/๒๘๘ข้อที่ ๒๕๕-๒๕๙

http://etipitaka.com/read?keywords=%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%86%E0%B8%B0&language=thai&number=188&volume=11