วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

คุณธรรม อันเป็นเครื่องให้เจริญอย่างยิ่ง ๔ ประการ

คุณธรรม อันเป็นเครื่องให้เจริญอย่างยิ่ง ๔ ประการนี้ คือ
สัจจะ ๑ ธรรม ๑
ธิติ ๑
จาคะ ๑
ผู้นั้น ย่อมล่วงพ้นศัตรูได้.

สัจจะ" แปลว่า ความสัตย์ ความซื่อ ถ้าขยายความตามศัพท์แยกได้ 3 ลักษณะคือ มีความจริง ความตรง และความแท้จริง
http://th.wikipedia.org/wiki/สัจจะ



ทมะ แปลว่า การรู้จักข่มจิตข่มใจตนเอง ทมะ หมายถึง ความรักในการฝึกฝนตนเอง ความกระตือรือร้นในการเคี่ยวเข็ญฝึกฝนตนเอง อย่างไม่มีข้อแม้เงื่อนไข เพื่อให้ตนเองมีทั้งความรู้ ความสามารถ และความดีเพิ่มพูนมากขึ้นทุกวัน เกิดเป็นคนต้องหมั่นปรับปรุงตนเองอยู่เรื่อยไป อย่าอยู่กับที่ ขณะที่คนอื่นเขาวิ่งบ้าง เดินบ้าง แม้ที่สุดกำลังคลานอยู่ ถ้าเรามัวนอนหลับ ก็เท่ากับเรากำลังถอยหลัง เรื่องฝึกตัวเป็นสิ่งสำคัญ ใครที่มีผู้ใต้บังคับบัญชามาก ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ทหาร ข้าราชการ พ่อค้าอะไรก็ตาม หากไม่ฝึกตัว ไปไม่รอด นอกจากต้องฝึกทางด้านวิชาการตลอดแล้ว ยังต้องฝึกแก้นิสัยใจคอตัวเองอีกด้วย ฝึกแก้นิสัยตัวเองคือ ฝึกตัวด้านคุณธรรมนั่นเอง เพราะการที่เราฝึกแก้นิสัยที่ไม่ดีของตนเอง จะทำให้เรามีความพร้อมที่จะยอมรับการอบรมสั่งสอน จากคนอื่นๆ ซึ่งจะเป็นทางมาแห่งปัญญาที่สำคัญ ทมะ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
ทันต่อกิเลส หมายถึง รู้เท่าทันกิเลสภายในตัวของเรา รู้ว่าอะไร คือสิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิต อะไรคือสิ่งฟุ่มเฟือย สิ่งไร้สาระ ไม่เกิดประโยชน์ เพราะการที่เราทันต่อกิเลสนั้น เราจะรู้จักยับยั้งไม่ให้หลงไปกระทำในสิ่งที่ไม่ดี
ทันคน หมายถึง รู้เท่าทันคนที่เราต้องติดต่อ คบค้าสมาคม เพื่อรู้เท่าทันความคิดของเขาว่า จะส่งผลดีหรือไม่ดีต่อตัวของเราหรือหน้าที่การงานของเราอย่างไร
ทันโลก หมายถึง รู้เท่าทันโลก รู้ว่าโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด และเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เพื่อที่เราจะสามารถปรับตัวได้ทัน
ทันธรรมชาติ หมายถึง รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศในแต่ละฤดูกาล ทั้งนี้เพื่อจะได้ดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม และวางแผนการทำงานให้เหมาะสมกับสภาพอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นในแต่ละฤดูกาลด้วย

ทันโลก สามารถแบ่งได้เป็น 4 เรื่องhttp://th.wikipedia.org/wiki/ทมะ




ขันติ (สันสกฤต: kṣānti' ,กษันติ) หมายถึง การรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนา หรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน ซึ่งไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะมีคนเทอะไรลงไป ของเสีย ของหอม ของสกปรกหรือของดีงามก็ตาม
ลักษณะความอดทนที่ถูกต้อง[แก้]
อดทนถอนตัวหรือหลีกเลี่ยงจากความชั่วให้ได้
อดทนทำความดีต่อไป
อดทนรักษาใจไว้ไม่ให้เศร้าหมองhttp://th.wikipedia.org/wiki/ขันติ

จาคะ แปลว่า ความเสียสละ, การแบ่งปัน, ความเอื้อเฟื้อ มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า ทาน และ บริจาค

จาคะ หมายถึงการสละสิ่งของและความสุขส่วนตัวเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น และหมายรวมถึงการสละละทิ้งกิเลส ละความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความตระหนี่ ความใจแคบ และการเลิกละนิสัย ตลอดถึงความประพฤติที่ไม่ดี ที่ทำให้เกิดความเสียหาย ก่อความบาดหมางทะเลาะเบาะแว้ง เป็นต้นด้วย











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น