วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

ความบริสุทธิ์ ๔ อย่าง

พระอานนท์แสดงธรรมแก่ราชบุตรแห่งโกลิยกษัตริย์ ชาว สาปุคนิคมหลายองค์ ถึงองค์แห่งความเพียร เพื่อความบริสุทธิ์ ๔ อย่าง คือองค์แห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์
แห่งศีล.
แห่งจิต,
แห่งทิฏฐิ ( ความเห็น )
และแห่งวิมุติ ( ความหลุดพ้น )

โดยชี้ไปที่การสำรวมในพระปาฏิโมกข์, การเข้าฌาน ๔, การรู้อริยสัจจ์ ๔ ตามเป็นจริง, การทำจิตให้คลายกำหนัดในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด การเปลื้องจิตในธรรมที่ควร เปลื้องโดยลำดับครบ ๔ ข้อ.

http://www.baanjomyut.com/pratripidok/prasudtanpidok/1304.html

สัจจะของพราหมณ์ ๔ ประการ

ตรัสแสดงสัจจะของพราหมณ์ ๔ ประการ แก่นักบวชลัทธิอื่น คือ
๑. สัตว์ทั้งปวงไม่ควรฆ่า
๒. กามไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
๓. ภพทั้ง ปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
๔. พราหมณ์ไม่ยึดถือสิ่งใด ๆ .

นักรบประกอบด้วยองค์ ๔

ทรงแสดงนักรบประกอบด้วยองค์ ๔
ว่า ควรแก่พระ ราชา คือ
 ๑. ฉลาดในภูมิประเทศเทียบด้วย ภิกษุผู้มีศีล
 ๒. ยิงไกล เทียบด้วยภิกษุผู้เห็นด้วยปัญญาตามเป็นจริง ไม่ ยึดถือขันธ์ ๕
 ๓. ยิงไว เทียบด้วยภิกษุผู้รู้อริยสัจจ์ ๔ ตามเป็นจริง
๔. ทำลายกายใหญ่ เทียบด้วยภิกษุผู้ทำลายกองแห่งอวิชชาใหญ่ได้.

http://www.baanjomyut.com/pratripidok/prasudtanpidok/1304.html

ปฏิสัมภิทา ( ความแตกฉาน ) ๔ อย่าง

พระสาริบุตรแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงปฏิสัมภิทา ( ความแตกฉาน ) ๔ อย่างที่ท่านทำให้แจ้ง คือ

ความแตกฉานในอรรถ ( เนื้อความ ),
ในธรรม ( คำสอน ),
ในนิรุตติ (ภาษาพูด )
และในปฏิภาณ ( ญาณความรู้ )

เป็นเหตุให้ท่านตอบปัญหาได้ในที่เฉพาะพระพักตร์พระศาสดา.

http://www.baanjomyut.com/pratripidok/prasudtanpidok/1304.html

การได้อัตตภาพ ๔ อย่าง ที่เนื่องด้วย

ทรงแสดงว่า เมื่อมีกาย วาจา ใจ
สุขทุกข์ภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะมีเจตนาทางกาย วาจา ใจ เป็นเหตุ, หรือเพราะอวิชชา ( ความไม่รู้ ) เป็นปัจจัย เกิดสุขทุกข์ภายในขึ้น เพราะปรุงกาย สังขาร,วจีสังขาร, มโนสังขาร
 ( ปรุงเจตนาทางกาย วาจา ใจ ) เองก็ตาม, ผู้อื่นปรุงก็ตาม
 ( ผู้อื่นชักชวน ) รู้ตัวก็ตาม
( ทำไป อย่างผู้รู้ผิดชอบ ) ไม่รู้ตัวก็ตาม
 ( ทำไปอย่างไม่รู้ผิดชอบ ) อวิชชาชื่อว่าตกไปตามในธรรมเหล่านั้น คือเกี่ยวข้องอยู่ทั่วไป ) เพราะดับอวิชชาได้โดยไม่เหลือ อื่น ๆ ก็ดับไปด้วย.
 แล้วทรงแสดงการได้อัตตภาพ ๔ อย่าง ที่เนื่องด้วย เจตนาของตนบ้าง ของผู้อื่นบ้าง แล้วตรัสตอบปัญหาของพระสาริบุตร เรื่องผู้ที่มาเกิดและไม่มาเกิดอีก.

http://www.baanjomyut.com/pratripidok/prasudtanpidok/1304.html

บุคคล ๔ผู้ต้อง ใช้และไม่ต้องใช้ความเพียรดับกิเลส

พระผู้มีพระภาคทรงแสดงบุคคล ๔ ประเภท คือ
๑. ผู้ต้อง ใช้ความเพียรดับกิเลสได้ในปัจจุบัน
๒. ผู้ต้องใช้ความเพียร ดับกิเลสได้เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว
๓. ผู้ไม่ต้องใช้ความเพียร ดับกิเลส ได้ในปัจจุบัน
๔. ผู้ไม่ต้องใช้ความเพียร ดับกิเลสได้เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว
 ( สองประเภทแรกตรัสอธิบายในทางผู้ปฏิบัติสายวิปัสสนา สองประเภทหลังตรัสอธิบายในทางผู้ปฏิบัติสายสมถะ ส่วนที่ดับกิเลสได้ในปัจจุบัน หรือเมื่อตายไปแล้ว ขึ้นอยู่แก่อินทรีย์ คือ ธรรมอันเป็นใหญ่ มีกำลังแรงหรืออ่อน ).

http://www.baanjomyut.com/pratripidok/prasudtanpidok/1304.html

ปฏิปทา ๔ อย่าง

ทรงแสดงปฏิปทา ๔ อย่าง

มีชื่อเดียวกัน แต่ต่างใน คือ

๑. ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า

๒. ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว

๓. ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า

๔. ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว.


ทรงแสดงปฏิปทา ๔ อย่าง

 มีชื่อเดียวกัน แต่ต่างใน คือ

๑. ปฏิบัติไม่อดทน

๒. ปฏิบัติอดทน

๓. ปฏิบัติข่ม

๔. ปฏิบัติสงบ.

พระมหาโมคคัลลานะตอบพระสาริบุตร ว่า ท่านอาศัย การปฏิบัติลำบาก และรู้ได้ช้า มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ.

พระสาริบุตรตอบพระมหาโมคคัลลานะ ว่า ท่านอาศัย การปฏิบัติสะดวก และรู้ได้เร็ว มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ.

http://www.baanjomyut.com/pratripidok/prasudtanpidok/1304.html

ธรรม ๔เป็นไปเพื่ออันตรธานแห่งพระสัทธรรม

ตรัสแสดงธรรม ๔ อย่างว่า เป็นไปเพื่อความเลอะเลือน เพื่ออันตรธาน แห่งพระสัทธรรม คือ
 ๑. ภิกษุทั้งหลายเรียนพระสูตรด้วยบทพยัญชนะที่ยกขึ้นผิด มีเนื้อความอันแนะนำผิด
๒. ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก
๓.ภิกษุผู้สดับตรับฟังมากไม่สอนผู้อื่นให้ท่อง จำพระสูตรโดยเคารพ เมื่อภิกษุผู้สดับฟังมากเหล่านั้นล่วงลับไป พระสูตรก็ชื่อว่ามีมูลรากอันขาด ( ไม่มีผู้ทรง จำได้ ) ก็ไม่เป็นที่พึ่ง
๔. ภิกษุผู้เป็นเถระเป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เอาแต่นอนหลับทอดธุระในความสงัด ไม่ปรารภ ความเพียรเพื่อบรรลุธรรมที่ยังมิได้บรรลุ ทำให้คนรุ่นหลังถือเป็นตัวอย่าง.
ในทางดีทรงแสดงโดยนัย ตรงกันข้าม.

http://www.baanjomyut.com/pratripidok/prasudtanpidok/1304.html

โรคของบรรพชิต ๔ อย่าง

แล้วทรงแสดงโรคของบรรพชิต ๔ อย่าง คือการที่ภิกษุ มีความปรารถนามาก ไม่สันโดษด้วยปัจจัย ๔ ตั้งความปรารถนาเพียรพยายาม เพื่อไม่ถูกดูหมิ่น เพื่อได้ลาภสักการะ ชื่อเสียง

 ๑. เข้าสู่สกุล ๒. นั่ง ๓. กล่างธรรม ๔. กลั้นอุจจาระปัสสาวะ เพื่อให้เขารู้จักตน.

http://www.baanjomyut.com/pratripidok/prasudtanpidok/1304.html

กัปป์ที่นับไม่ได้ ๔ อย่าง

ทรงแสดงกัปป์ที่นับไม่ได้ ๔ อย่าง คือ


  • สังวัฏฏกัปป์.

  • สังวัฏฏัฏฐายีกัปป์,

  • วิวัฏฏกัปป์,

  • วิวัฏฏัฏฐายีกัปป์
 
ทั้งสี่กัปป์นี้นับไม่ได้โดยง่ายว่า เท่านี้ปี, เท่านี้ ร้อยปี, พันปี, แสนปี.
 

กำลัง ๔ อย่าง

ทรงแสดงกำลัง ๔ อย่าง แบ่งเป็น ๔ นัย คือ
 ๑. กำลังคือความเชื่อ, ความเพียร, ความตั้งใจมั่น, ปัญญา.
 ๒. กำลังคือปัญญา, ความเพียร, ความไม่มีโทษ, การสงเคราะห์.
 ๓. กำลังคือความระลึกได้, ความตั้งใจมั่น, ความไม่มีโทษ, การสงเคราะห์.
 ๔. กำลังคือการ พิจราณา, การอบรม, ความไม่มีโทษ, การสงเคราะห์.

http://www.baanjomyut.com/pratripidok/prasudtanpidok/1304.html

พระองค์พึงทราบได้โดยฐานะ ๔

ทรงแสดงฐานะ ๔ ที่พึงทราบได้โดยฐานะ ๔ คือ
๑. ศีล พึงทราบได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน
๒. ความสะอาดพึงทราบได้ด้วยการสนทนา
๓. กำลัง ( ใจ ) พึงทราบได้ในเวลามีอันตรายเกิด ขึ้น
๔. ปัญญา พึงทราบได้ด้วยการถาม การตอบ.

ทั้งสี่ข้อนี้ ต้องอาศัยเวลานาน และผู้ทราบก็ต้องใส่ใจและมีปัญญา.

http://www.baanjomyut.com/pratripidok/prasudtanpidok/1304.html

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน