วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การแสวงหาอันประเสริฐ๔


อนริยปริเยสนา ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลายอริยปริเยสนา การแสวงหา อย่างประเสริฐ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉนคือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ตนเองเป็นผู้มีชรา เป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีชราเป็นธรรมดาแล้ว ย่อมแสวงหานิพพานอันไม่มีชรา เป็นแดน เกษมจากโยคะอย่างเยี่ยม ๑ ตนเองเป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีพยาธิเป็นธรรมดาแล้ว ย่อมแสวงหานิพพานอันไม่มีพยาธิ เป็นแดนเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ๑ ตนเองเป็นผู้มีมรณะเป็น ธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีมรณะเป็นธรรมดาแล้ว ย่อมแสวงหานิพพานอันไม่ตาย เป็นแดนเกษม จากโยคะชั้นเยี่ยม ๑ ตนเองเป็นผู้มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีความเศร้าหมอง เป็นธรรมดาแล้วย่อมแสวงหานิพพานอันไม่เศร้าหมอง เป็นแดนเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อริยปริเยสนา ๔ ประการนี้แล ฯ
http://etipitaka.com/read?keywords=ไสย&language=thai&number=230&volume=21#

การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ๔

อนริยปริเยสนา การแสวงหาอันไม่ประเสริฐ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ตนเองเป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหา สิ่งที่มีชราเป็นธรรมดานั่นเอง ๑
ตนเองเป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาสิ่งที่มีพยาธิเป็น ธรรมดานั่นเอง ๑
ตนเองเป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาสิ่งที่มีมรณะเป็นธรรมดานั่นเอง ๑
ตนเองเป็นผู้มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดานั่นเอง ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนริยปริเยสนา ๔ ประการนี้แล




แสวง
คำแปล

[สะ-แหฺวง] ก. เที่ยวหา, ค้นหา, เสาะหา.

อริยโวหาร๔


อริยโวหาร ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
 คือ

 ความเป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น ๑
 ความเป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้ ฟังว่าไม่ได้ฟัง ๑
 ความเป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ ๑
 ความเป็น ผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้ ๑

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร ๔ ประการนี้แล ฯ

โวหารอันมิใช่ของพระอริยะ๔


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย โวหารอันมิใช่ของพระอริยะ ๔ ประการนี้๔ ประการเป็น ไฉน คือ

ความเป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าเห็น ๑ 
ความเป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าได้ฟัง ๑
ความเป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าได้ทราบ๑
ความเป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าได้รู้ ๑
 
  ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย โวหารอันไม่ใช่ของพระอริยะ ๔ ประการนี้แล ฯ

ธรรม ๔ ประการ เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่มนุษย์

ธรรม ๔ ประการ เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่มนุษย์ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ สัปปุริสสังเสวะ ๑ สัทธรรมสวนะ๑ โยนิโสมนสิการ ๑ ธรรมานุธรรมปฏิปัตติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ประการนี้แล เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่มนุษย์ ฯ http://etipitaka.com/read?keywords=ไสย&language=thai&number=230&volume=21#      ๑. สัปปุริสสังเสวะ การคบสัตบุรุษ ได้แก่การเข้าไปหา การสนทนา การปรึกษาสอบถามสิ่งที่ตนยังไม่รู้หรือสงสัยกะท่าน และนำเอากิริยามรรยาทของท่านอันสมควรแก่ตนมาปรับปรุงมรรยาทของตนให้ดีขึ้น      ๒. สัทธัมมัสสวนะ แปลตรงศัพท์ว่า "ฟังคำสอนของคนดี" ธรรม คือคำสั่งสอนของสัตบุรุษ คือคำสอนของคนดี หรือของบัณฑิต หรือของนักปราชญ์นั้น เป็นคำสอนที่ดีมีคุณประโยชน์แก่ผู้ฟังผู้ปฏิบัติตาม เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ทุก ๆ ฝ่าย เรียกว่า สัทธรรม      ๓. โยนิโสมนสิการ แปลตรงศัพท์ว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย คือโดยอุบายที่ชอบธรรม หมายถึงความคิดนึกตรึกตรองพิจารณาให้ถ่องแท้ให้แจ่มแจ้งประจักษ์ถึงเหตุเกิดของสิ่งที่ได้เห็นได้ยิน ได้สูด ได้ลิ้ม ได้สัมผัส ได้รู้ ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ       ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ แปลตรงศัพท์ว่า การปฏิบัติหรือการประพฤติธรรมอันสมควรแก่ความดี คนเราจะเจริญหรือจะเสื่อม ย่อมขึ้นอยู่กับความประพฤติปฏิบัติถ้าประพฤติผิดหรือประพฤติไม่สมควร คือประพฤติไม่เหมาะสม ไม่ถูกกาลเทศะ ไม่ถูกที่ดี ไม่ถึงดี หรือเกินดีไป ก็ย่อมจะหาความเจริญได้ยากหรืออาจประสบความเสื่อม ความพิบัติไปเลยก็ได้ ขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.watprempracha.com/tummavipark_003.html

ธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา


ธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ สัปปุริสสังเสวะ การคบสัปบุรุษ ๑ สัทธรรมสวนะ ฟังคำสั่งสอนของท่าน ๑ โยนิโสมนสิการ ทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑ ธรรมานุธรรมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่ง ปัญญา ฯ http://etipitaka.com/read?keywords=ไสย&language=thai&number=230&volume=21#