วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๔ คือ

ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๔ คือ 

ต้องด้วยกาย ๑ 
ต้องด้วยวาจา ๑ 
ต้องด้วยกายและวาจา ๑ 
ต้องด้วยกรรมวาจา ๑.

http://etipitaka.com

ผู้งามในบริษัทมี ๔ คือ

ผู้งามในบริษัทมี ๔ คือ 

ภิกษุผู้มีศีล มีธรรมงาม เป็นผู้งามในบริษัท ๑
ภิกษุณีผู้มีศีลมีธรรมงาม เป็นผู้งามในบริษัท ๑ 
อุบาสกผู้มีศีล มีธรรมงาม เป็นผู้งามในบริษัท ๑ 
อุบาสิกาผู้มีศีล มีธรรมงาม เป็นผู้งามในบริษัท ๑.


http://etipitaka.com/read/thai/8/303/?keywords=%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%AD

ผู้ประทุษร้ายบริษัทมี ๔

ผู้ประทุษร้ายบริษัทมี ๔ 
คือ ภิกษุผู้ทุศีล มีธรรมทราม เป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท ๑ ภิกษุณีผู้ทุศีล มีธรรมทราม เป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท ๑ 
อุบาสกผู้ทุศีล มีธรรมทราม เป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท ๑ 
อุบาสิกาผู้ทุศีล มีธรรมทราม เป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท ๑.



http://etipitaka.com/read/thai/8/303/?keywords=%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%AD

วิ บัติมี ๔

วิ บัติมี ๔ คือ 
ศีลวิบัติ ๑ 
อาจารวิบัติ ๑ 
ทิฏฐิวิบัติ ๑ 
อาชีววิบัติ ๑.

http://etipitaka.com

การขาดพรรษาไม่ต้องอาบัติมีปัจจัย ๔

การขาดพรรษาไม่ต้องอาบัติมีปัจจัย ๔ คือ 
สงฆ์แตกกัน ๑ 
มีพวกภิกษุ ประสงค์จะทำลายสงฆ์ ๑ 
มีอันตรายแก่ชีวิต ๑ 
มีอันตรายแก่พรหมจรรย์ ๑.

http://etipitaka.com

วจีทุจริตมี ๔

วจีทุจริตมี ๔ 

คือ พูดเท็จ ๑ 
พูดส่อเสียด ๑ 
พูดคำหยาบ ๑
พูดเพ้อเจ้อ ๑.



http://etipitaka.com

วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2558

ธรรม ๔ อย่าง ไม่ มีใครๆ สมณะก็ตาม พราหมณ์ก็ตาม เทวดาก็ตาม มารก็ตาม พรหมก็ตาม ใครๆ ในโลกก็ตาม จะเป็นผู้รับรองได้

ธรรม ๔ อย่าง ไม่ มีใครๆ สมณะก็ตาม พราหมณ์ก็ตาม เทวดาก็ตาม มารก็ตาม พรหมก็ตาม ใครๆ ในโลกก็ตาม จะเป็นผู้รับรองได้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ อย่าง ไม่
มีใครๆ สมณะก็ตาม พราหมณ์ก็ตาม เทวดาก็ตาม มารก็ตาม พรหมก็ตาม ใครๆ ในโลกก็ตาม จะเป็นผู้รับรองได้ ธรรม ๔ อย่าง เป็นไฉน? คือ (๑) ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าแก่เลย ดังนี้ ไม่มีใครๆ สมณะก็ตาม พราหมณ์ก็ตาม เทวดาก็ตาม มารก็ตาม พรหมก็ตาม ใครๆ ในโลกก็ตาม จะเป็นผู้รับรองได้ (๒) ผู้มี ความเจ็บเป็นธรรมดา อย่าเจ็บเลย ฯลฯ (๓) ผู้มีความตายเป็น ธรรมดา อย่าตายเลย ฯลฯ (๔) กรรมทั้งหลายนั้นใด เป็นบาป ข้องอยู่ในสังกิเลส เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ มีทุกข์เป็นกำไร มีวิบากเป็นทุกข์ เป็นไปเพื่อชาติ ชรา มรณะ ต่อไป อันบุคคล ทำแม้ในกาลก่อน วิบากแห่งกรรมทั้งหลายนี้ อย่าได้เกิดเลย ดังนี้ ไม่มีใครๆ สมณะก็ตาม พราหมณ์ก็ตาม เทวดาก็ตาม มารก็ตาม พรหมก็ตาม ใครๆ ในโลกก็ตาม จะเป็นผู้รับรองได้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ธรรม ๔ อย่างนี้แล ไม่มีใครๆ สมณะก็ตาม พราหมณ์ ก็ตาม เทวดาก็ตาม มารก็ตาม พรหมก็ตาม ใครๆ ในโลกก็ตาม จะเป็นผู้รับรองได้ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์พึงตั้งอยู่ได้ ตลอดกัลป์ น่ะสิ อิทธิพลกถา จบ
http://etipitaka.com/read/thai/37/620/?keywords=%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B9%8C

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ฆนะ 4 อย่าง



ฆนะ คือ สิ่งที่เนื่องกันอยู่ ท่านได้แบ่งฆนะ ออกเป็น 4 อย่าง คือ สันตติฆนะ สมูหฆนะ กิจจฆนะ อารัมมณฆนะ
สันตติฆนะ คือ ขันธ์ 5 (ปรมัตถ์) ที่เกิดดับสืบเนื่องกันไปไม่ขาดสาย, ซึ่งเร็วจนดูเหมือนกับว่า ขันธ์ 5 ไม่มีอะไรเกิดดับ (บัญญัติ).
สมูหฆนะ คือ ขันธ์ 5 (ปรมัตถ์) ที่เกิดร่วมกันสัมพันธ์อาศัยซึ่งกันและกัน, จนดูราวกะว่า ขันธ์ทั้ง 5 เป็นกลุ่มก้อน เป็นหนึ่งเดียวกัน (บัญญัติ).
กิจจฆนะ คือ ขันธ์ 5 (ปรมัตถ์) ที่มีกิจรสคือหน้าที่แตกต่างกันออกไป, ซึ่งหากไม่มีปัญญาก็อาจดูเหมือนกับว่า ขันธ์ 5 มีกิจอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงกิจเดียว (บัญญัติ).
อารัมมณฆนะ คือ ขันธ์ 4 (ปรมัตถ์) ที่จำแนกการทำให้เป็นอารมณ์ออกได้หลายอย่าง, แต่ผู้ไม่มีปัญญาจะถือเอาว่า จิตทำให้เป็นอารมณ์ได้แบบเดียว (บัญญัติ)


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%86%E0%B8%99%E0%B8%B0

วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ธาตุ ๔ อย่าง

ธาตุ ๔ อย่าง


๑. ปฐวีธาตุ [ธาตุดิน]

๒. อาโปธาตุ [ธาตุน้ำ]

๓. เตโชธาตุ [ธาตุไฟ]

๔. วาโยธาตุ [ธาตุลม]