วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เทศนาวิธี 4

เทศนาวิธี หรือ พุทธลีลาในการสอน หมายถึง การสอนของพระพุทธเจ้าในแต่ละครั้ง ที่ประกอบด้วยคุณลักษณะ ๔ ประการ

เทศนาวิธี ๔
๑.สันทัสสนา คือ ชี้แจงเรื่องที่ทรงสอนให้เห็นชัดเป็นการแยกแยะ อธิบาย และแสดงเหตุผลให้ชัดเจนจนผู้ฟังเข้าใจแจ่มแจ้ง เห็นจริงเห็นจัง ดังได้เห็นกับตา

๒.สมาทปนา คือ ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เป็นการสอนให้เห็นว่าสิ่งใดควรปฏิบัติก็แนะนำหรือบรรยายให้ซาบซึ้งในคุณค่าและเห็นความสำคัญที่จะต้องฝึกฝน จนยอมรับและนำไปปฏิบัติ

๓.สมุตเตธนา คือ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า เป็นการปลุกเร้าใจให้กระตือรือร้น เกิดความอุตสาหะมีกำลังใจที่จะทำให้สำเร็จลงได้

๔.สัมปหังสนา คือ ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงเป็นการการบำรุงจิตให้แช่มชื่นเบิกบาน เห็นคุณประโยชน์ที่จะได้รับ และทางที่จะก้าวหน้าบรรลุผลสำเร็จยิ่งขึ้นไป ทำให้ผู้ฟังมีความหวังและเบิกบานใจ

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ภัย 4

ภัย ๔ ประการนี้ ภัย ๔ ประการเป็นไฉน คือ 
อัคคีภัย ๑
อุทกภัย ๑ 
ราชภัย ๑ 
จรภัย ๑ นี้แลภัย

 


อัตตานุวาทภัย ภัยเกิดแต่การติเตียนตนเอง ๑

ปรานุวาทภัย ภัยเกิดแต่ผู้อื่นติเตียน ๑

ทัณฑภัย ภัยเกิดแต่อาญา ๑

ทุคติภัย ภัยเกิดแต่ทุคติ ๑



http://www.thepalicanon.com/91book/book35/301_350.htm


 
 

สิ่งที่น่ากลัว 4

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย (สิ่งที่น่ากลัว) ๔ ประการนี้ ภัย ๔ ประการเป็นไฉน คือ 
ชาติภัย ๑ 
ชราภัย ๑ 
พยาธิภัย ๑ 
มรณภัย ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล ภัย ๔ ประการ.

ปฐมภยสูตรที่ ๙

ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 4

ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ก็ฉันนั้น
เหมือนกันแล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควร
แก่ทักษิณา เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น
ผู้สำเหนียก ๑ กำจัด ๑ อดทน ๑ ไปได้เร็ว ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุ
เป็นผู้สำเหนียกอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จดจำ กระทำธรรมวินัยนี้อัน
พระตถาคตประกาศแล้ว ทรงแสดงอยู่ไว้ในใจ ประมวลธรรมวินัยทั้งปวงไว้
ด้วยใจ เงี่ยโสตลงสดับธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้สำเหนียก
อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้กำจัดอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมให้ตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้พินาศ ให้ถึงความไม่มี

ซึ่งกามวิตกอันบังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมให้ตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อม

กระทำให้พินาศ ให้ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาทวิตกอันบังเถิดขึ้นแล้ว ย่อมให้

ตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมละ. ย่อมบรรเทา ย่อมกระทำให้พินาศ ให้ถึงความไม่มี ซึ่ง

วิหิงสาวิตกอันบังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมให้ตั้งอยู่ไม่ได้ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อม

กระทำให้พินาศ ให้ถึงความไม่มี ซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศล อันบังเกิดขึ้นแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้กำจัดอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้อดทนอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย สัมผัสแห่ง

เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื่อยคลาน เป็นผู้มีปกติอดทนต่อคำกล่าว

อันหยาบคาย ร้ายกาจ ที่บังเกิดขึ้นแล้ว ต่อทุกขเวทนาเป็นไปทางสรีระ

กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบจะนำชีวิตไปเสีย ดูก่อน-


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 309

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อดทนอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ไปได้เร็วอย่างไร ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ ทิศใดที่ตนไม่เคยไป โดยกาลนานนี้ คือ ความระงับสังขารทั้งปวง

ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ

นิพพาน เป็นผู้ไปสู่ทิศนั้นได้เร็ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไปได้เร็ว

อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล

ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็น

ผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า.

จบนาคสูตรที่

ช้างตัวประเสริฐ 4

ช้างตัวประเสริฐของพระราชา ในโลกนี้

 

เป็นสัตว์สำเหนียก  ๑ 
กำจัด ๑ 
อดทน ๑   
ปได้เร็ว ๑
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างตัวประเสริฐของพระราชาเป็นสัตว์สำเหนียกอย่างไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างตัวประเสริฐของพระราชา ในโลกนี้ ย่อมเอาใจใส่
มนสิการถึงเหตุการณ์ที่นายควาญช้างจะให้กระทำ ที่ตนเคยทำก็ตาม ไม่เคยทำ
ก็ตาม ประมวลเหตุการณ์ทั้งหมดไว้ด้วยใจ คอยเงี่ยโสตสดับอยู่ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชา เป็นสัตว์สำเหนียกอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างตัวประเสริฐของพระราชา เป็นสัตว์กำจัด
อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชา ในโลกนี้ เข้าสู่
สงครามแล้ว ย่อมกำจัดช้างบ้าง พลช้างบ้าง ม้าบ้าง พลม้าบ้าง รถบ้าง
พลรถบ้าง พลเดินเท้าบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชา
เป็นสัตว์กำจัดอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างตัวประเสริฐของพระราชาเป็นสัตว์อดทน
อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชา ในโลกนี้ เข้าสู่
สงครามแล้ว เป็นสัตว์อดทนต่อการประหารด้วยหอก ต่อการประหารด้วยดาบ
ต่อการประหารด้วยหลาว ต่อเสียงระเบงเซ็งแซ่แห่งกลองบัณเฑาะว์สังข์และ
มโหระทึก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชาเป็นสัตว์อดทน
อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างตัวประเสริฐของพระราชา เป็นสัตว์ไปได้
เร็วอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชาในโลกนี้
นายควาญช้างจะใช้ไปสู่ทิศใด ตนจะเคยไปหรือไม่เคยไปก็ตาม ย่อมเป็นสัตว์
ไปสู่ทิศนั้นเร็วพลันทีเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชา
เป็นสัตว์ไปได้เร็วอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๔
นี้แล ย่อมเป็นสัตว์ควรแก่พระราชา เป็นช้างต้น ถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะ. 
 

ม้าอาชาไนย4

ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชา

ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ ย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา เป็นม้าต้น ย่อม
ถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะ องค์ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
ชื่อตรงประการ ๑
ว่องไวประการ ๑  
อดทนประการ ๑   
สงบเสงี่ยมประการ ๑
ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๔  ประการนี้แล

บุคคล ๔ อย่าง

[๒๗๔] บุคคล ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำตนให้เดือดร้อน ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำตนให้เดือดร้อนด้วย เป็นผู้ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วย ฯ
๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน ไม่เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำตนให้เดือดร้อนด้วยเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนไม่เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วย เขาไม่ทำตนให้เดือด ร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้หายหิวดับสนิท เยือกเย็น เสวยความสุขมีตนเป็นเสมือนพรหมอยู่ในปัจจุบัน ฯ


[๒๗๕] บุคคลอีก ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนด้วยเพื่อประโยชน์ผู้อื่นด้วย ฯ

[๒๗๖] บุคคลอีก ๔ อย่าง ๑. บุคคลผู้มืดมา กลับมืดไป
๒. บุคคลผู้มืดมา กลับสว่างไป
๓. บุคคลผู้สว่างมา กลับมืดไป ๔. บุคคลผู้สว่างมา กลับสว่างไป ฯ
[๒๗๗] บุคคลอีก ๔ อย่าง ๑. สมณมจละ [เป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว] ๒. สมณปทุมะ [เป็นสมณะเปรียบด้วยดอกบัวหลวง] ๓. สมณปุณฑรีกะ [เป็นสมณะเปรียบด้วยดอกบัวขาว] ๔. สมเณสุ สมณสุขุมาละ [เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในสมณะทั้งหลาย ฯ]

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๔ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้วพวกเราทั้งหมดด้วยกันพึง
สังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไป เพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมากเพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ จบหมวด ๔


พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
หน้าที่ ๑๙๔/๒๘๘ข้อที่ ๒๗๘-๒๘๐

http://etipitaka.com/read?keywords=%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%86%E0%B8%B0&language=thai&number=188&volume=11#

วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อริยสัจ 4

อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ
1. ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์ หรือขันธ์ 5
2. ทุกขสมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ
3. ทุกขนิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิง
4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ ได้แก่ มรรคอันมีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ 1. สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ 2. สัมมาสังกัปปะ-ความดำริชอบ 3. สัมมาวาจา-เจรจาชอบ 4. สัมมากัมมันตะ-ทำการงานชอบ 5. สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ 6. สัมมาวายามะ-พยายามชอบ 7. สัมมาสติ-ระลึกชอบ และ 8. สัมมาสมาธิ-ตั้งใจชอบ ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง
มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังนี้ 1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ 2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ และ 3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ
อริยสัจ 4 นี้ เรียกสั้น ๆ ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค

กิจในอริยสัจ 4

กิจในอริยสัจ คือสิ่งที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ ได้แก่
  1. ปริญญา - ทุกข์ ควรรู้ คือการทำความเข้าใจปัญหาหรือสภาวะที่เป็นทุกข์อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง เป็นการเผชิญหน้ากับปัญหา
  2. ปหานะ - สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ
  3. สัจฉิกิริยา - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย
  4. ภาวนา - มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ไร้ปัญหา
กิจทั้งสี่นี้จะต้องปฏิบัติให้ตรงกับมรรคแต่ละข้อให้ถูกต้อง การรู้จักกิจในอริยสัจนี้เรียกว่ากิจญาณ
กิจญาณเป็นส่วนหนึ่งของญาณ 3 หรือญาณทัสสนะ (สัจญาณ, กิจญาณ, กตญาณ) ซึ่งหมายถึงการหยั่งรู้ครบสามรอบ ญาณทั้งสามเมื่อเข้าคู่กับกิจในอริยสัจทั้งสี่จึงได้เป็นญาณทัสนะมีอาการ 12 ดังนี้
  1. สัจญาณ หยั่งรู้ความจริงสี่ประการว่า
    1. นี่คือทุกข์
    2. นี่คือเหตุแห่งทุกข์
    3. นี่คือความดับทุกข์
    4. นี่คือทางแห่งความดับทุกข์
  2. กิจญาณ หยั่งรู้หน้าที่ต่ออริยสัจว่า
    1. ทุกข์ควรรู้
    2. เหตุแห่งทุกข์ควรละ
    3. ความดับทุกข์ควรทำให้ประจักษ์แจ้ง
    4. ทางแห่งความดับทุกข์ควรฝึกหัดให้เจริญขึ้น
  3. กตญาณ หยั่งรู้ว่าได้ทำกิจที่ควรทำได้เสร็จสิ้นแล้ว
    1. ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว
    2. เหตุแห่งทุกข์ได้ละแล้ว
    3. ความดับทุกข์ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว
    4. ทางแห่งความดับทุกข์ได้ปฏิบัติแล้ว

อ้างอิง

  • ราชบัณฑิตยสถาน. (2548). พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. หน้า 65-66.

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อคติ 4

คำว่า อคติ แปลว่า ไม่เดิน, ไม่ไป หมายความว่า ไม่ควรเดิน ไม่ควรไป หรือไม่ควรประพฤติ อคติ ศัพท์นี้ตรงกับภาษาไทยว่า ความลำเอียง ความไม่เที่ยงธรรม, ความไม่ยุติธรรม
(ฐานะอันไม่พึงถึง, ทางความประพฤติที่ผิด, ความไม่เที่ยงธรรม, ความลำเอียง )
- wrong course of behavior; prejudice) มีอยู่ 4 อย่างคือ

1. ฉันทาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะรัก (prejudice caused by love or desire; partiality)
2. โทสาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะเกลียด (prejudice caused by hatred or enmity)
3. โมหาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะเขลาหรือเพราะความโง่หลงงมงาย
ไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ว่าอย่างไร ถูกอย่างไรผิดอย่างไรควร อย่างไรไม่ควร (prejudice caused by delusion or stupidity)
4. ภยาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะกลัวหรือเพราะเกรงใจ (prejudice caused by fear)
ความลำเอียงทั้ง 4 ประการนี้ เป็นอันตรายอย่างมาก ทุกยุคทุกสมัยที่บุคคลที่เป็นผู้ใหญ่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการปกครองบังคับบัญชาบุคคลอื่นด้วยแล้ว มีความลำเอียง (อคติ) อยู่เพียงข้อใดข้อหนึ่งเท่านั้น ก็จะทำให้สูญเสียความยุติธรรมขาดความอบอุ่น ขาดความมั่นใจของคนที่เกี่ยวข้องเป็นผู้น้อย เป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของบุคคลเหล่านั้น แต่ความลำเอียง (อคติ) ทั้ง 4 อย่างนี้ ไม่ได้เจาะจงเฉพาะผู้ใหญ่เท่านั่น แม้แต่ผู้น้อยหรือเด็กๆ ก็อาจจะเกิดความลำเอียง (อคติ) ขึ้นมาได้เหมือนกัน เหตุนั้นพระองค์จึงตรัสเพื่อลดอคติและสร้างเสริมความเมตตาในกันและกัน ร่มกันเร่งปฏิบัติสรรพกิจการงานให้ประสานเกื้อกูลกัน เพื่อทุกคนจะได้สามารถนำพาประเทศชาติให้ก้าวหน้าไปอย่างมั่นคง และบรรลุถึงความวัฒนาผาสุกได้โดยสวัสดิ์ดี


http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538759434&Ntype=19




พระพุทธศาสนานั้น สอนความจริงเป็นกลางไม่ขึ้นต่อบุคคล กลุ่ม เหล่า พรรคพวก

วิบัติ 4

วิบัติ 4

สีลวิบัติ ความวิบัติแห่งศีล ความวิบัติแห่งศีล

อาจารวิบัติ ความวิบัติแห่งอาจาระความวิบัติแห่งอาจาระ ได้แก่ท่านผู้ปฏิญาณตน

ทิฏฐิวิบัติ ความวิบัติแห่งทิฏฐิสัมมาทิฏฐิ แปลว่าความเห็นชอบ

อาชีววิบัติ ความวิบัติแห่งอาชีวะ เลี้ยงชีวิตในทางที่ผิดเรียกว่า มิจฉาอาชีวะ

ความวิบัติแต่ละอย่างนั้น สร้างความตกต่ำให้เกิดขึ้นในชีวิตและจิตใจของบุคคล ทำให้การประพฤติปฏิบัติของบุคคลเหล่านั้นเสื่อมถอยลงไป กุศลเสื่อมลง อกุศลเพิ่มขึ้นความทุกข์อันเป็นผลมาจากอกุศลก็ติดตามมา ดังนั้น จึงทรงสอนให้บุคคลพยายามรักษาศีลคืออาการทางกาย วาจา ของตนให้เรียบร้อย อาจาระ คือ ความประพฤติปฏิบัติของตนให้ดีงาม ทิฏฐิ คือควบคุมความคิดเห็นของตนให้ตรงตามทำนองคลองธรรม และพยายามเลี้ยงชีวิตของตนในทางที่ชอบ ไม่หลอกลวง ฉ้อโกงคนอื่นมาเลี้ยงชีวิต เพื่อให้เกิดเป็นผลที่ดีงามแก่ตนเองและบุคคลอื่น.

http://www.bp-smakom.org/bp_school/social/Viban4.htm

ศรัทธา 4

ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนามีสี่อย่าง คือ
  • กัมมสัทธา เชื่อกรรม เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง.                                                                        คือ เชื่อว่า เมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา คือ จงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม คือ เป็นความชั่วความดีมีขึ้นในตน เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างเปล่า และเชื่อว่าผลที่ต้องการ จะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยอ้อนวอนหรือนอนคอยโชค เป็นต้น
  • วิปากสัทธา เชื่อวิบาก เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง                                                                  คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วย่อมมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว
  • กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน                                                                                 เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบาก เป็นไปตามกรรมของตน
  • ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจในองค์พระตถาคต                                                     ว่าทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง 9 ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดีก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุด บริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ทรงบำเพ็ญไว้

สิ่ง 4 ประการ เหล่านี้ ไม่ควรดูหมิ่นว่าเล็กน้อย


สมัยหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลถามว่า “สมณพราหมณ์บางพวกเป็นคณาจารย์ เป็นเจ้าลัทธิ มีเกียรติ มีชื่อเสียง ชนส่วนมากยกย่องว่าดี คือ ปูรณกัสสปะ มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร และนิครนถนาฏบุตร สมณพราหมณ์เหล่านั้นเมื่อถูกข้าพระองค์ถามก็ยังมิกล้าปฏิญาณตนได้ว่าตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ส่วนพระโคดมผู้เจริญยังมีชันษาอยู่ในวัยหนุ่ม และเป็นผู้ใหม่ในบรรพชิต ไฉนจึงกล้าปฏิญาณได้เล่า”



ดูก่อนมหาบพิตร สิ่ง ๔ ประการ เหล่านี้ ไม่ควรดูหมิ่นว่าเล็กน้อย” คือ

๑. กษัตริย์ ไม่ควรดูหมิ่นว่ายังทรงพระเยาว์

๒. งู ไม่ควรดูหมิ่นว่าตัวเล็ก

๓. ไฟ ไม่ควรดูหมิ่นว่ากองเล็ก

๔. ภิกษุ ไม่ควรดูหมิ่นว่ายังใหม่ต่อเพศบรรพชิต


http://www.watthaichetavan.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538706834&Ntype=1

บุคคล 4

บุคคล ๔ จำพวก คือ อุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู เนยย ปทปรมะ ก็เปรียบเหมือนดอกบัว ๔ เหล่านั้นแล. ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น
บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยกขึ้นแสดง ชื่ออุคฆฏิตัญญู.
บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมเมื่อท่านแจกความแห่งคำย่อโดยพิสดาร ชื่อว่าวิปจิตัญญู.
บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมโดยลำดับด้วยความพากเพียรท่องจำ ด้วยการไต่ถาม ด้วยทำไว้ในใจโดยแบบคายด้วยคบหาสมาคมกับกัลยาณมิตร ชื่อว่าเนยย.
บุคคลที่ไม่ตรัสรู้ธรรมได้ในชาตินั้น แม้เรียนมาก ทรงไว้มาก สอนเขามาก ชื่อว่าปทปรมะ

ปธาน4

ปธาน4



ความเพียรที่ชอบเป็นสัมมาวายามะ มี ๔ อย่าง คือ
๑. สังวรปธาน เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
๒. ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. ภาวนาปธาน เพียรเจริญทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมไปและให้เพิ่มไพบูลย์;
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปธาน_๔

ฆราวาสธรรม๔

 
สัจจะ แปลว่า จริง ตรง แท้ มีความซื่อสัตย์เป็นพื้นฐาน เป็นคนจริงต่อความเป็นมนุษย์ของตน ทมะ แปลว่า ฝึกตน ข่มจิต และรักษาใจ บังคับตัวเองเพื่อลดและละกิเลส และรักษาสัจจะ ขันติ แปลว่า อดทน ไม่ใช่แพียงแต่อดทนกับคำพูดหรือการกระทำของผู้อื่นที่เราไม่พอใจ แต่หมายถึงการอดทนอดกลั้นต่อการบีบบังคับของกิเสส จาคะ แปลว่า เสียสละ บริจาคสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่ในตน โดยเฉพาะกิเลสเพราะนั้นคือสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่กับตน ละนิสัยไม่ดีต่างๆ

สังคหวัตถุ 4

สังคหวัตถุ 4 มีด้วยกัน 4 ประการคือ

1. ทาน คือ การให้

2. ปิยวาจา คือ การพูดถ้อยคำที่เป็นที่รัก

3. อัตถจริยา คือ การทำตนให้เป็นระโยชน์

4. สมานัตตา คือ การวางตนให้สม่ำเสมอ

http://www.kusolsuksa.com/webboard/index.php?topic=1604.0

อิทธิบาท4

อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ
๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน

พรหมวิหาร 4

ความหมายของพรหมวิหาร 4-

พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่

พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน

เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่






เมตตา

ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข


กรุณา

ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์


มุทิตา

ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี


อุเบกขา

การรู้จักวางเฉย








มหาปณิธาน 4

มหาปณิธาน 4
มหาปณิธาน 4 ประกอบด้วย
  1. เราจะละกิเลสให้หมด
  2. เราจะศึกษาสัจธรรมให้จบ
  3. เราจะช่วยโปรดสัตว์ทั้งหลายให้สิ้น
  4. เราจะบรรลุพระพุทธภูมิอันประเสริฐสุด