วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ธรรมบท. ๔

ธรรมบท ๔ อย่าง ๑. บทธรรมคือความไม่เพ่งเล็ง ๒. บทธรรมคือความไม่พยาบาท ๓. บทธรรมคือความระลึกชอบ ๔. บทธรรมคือความตั้งใจไว้ชอบ

ปฏิปทา ๔ อย่าง



ปฏิปทา ๔ อย่าง

๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา [ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า]

๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา [ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว]

๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา [ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า]

๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา [ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว]




ปฏิปทาอีก ๔ อย่าง

๑. อักขมา ปฏิปทา [ปฏิบัติไม่อดทน]

๒. ขมา ปฏิปทา [ปฏิบัติอดทน]

๓. ทมา ปฏิปทา [ปฏิบัติฝึก]

๔. สมา ปฏิปทา [ปฏิบัติระงับ]





ความเกิดขึ้นแห่งตัณหา ๔ อย่าง

ความเกิดขึ้นแห่งตัณหา ๔ อย่าง
 ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งจีวร 
๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งบิณฑบาต 
๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ
๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งความมียิ่งๆขึ้นไป

วิญญาณฐิติ ๔ อย่าง



วิญญาณฐิติ ๔ อย่าง

๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งรูปเมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่วิญญาณนั้นมี รูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ฯ

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งเวทนา เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ วิญญาณ นั้นมีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอก งามไพบูลย์ ฯ

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสัญญา เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ วิญญาณ นั้นมีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอก งาม ไพบูลย์ ฯ

๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสังขาร เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ วิญญาณ นั้นมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอก งาม ไพบูลย์ ฯ

ปฏิสัมภิทา 4


ปฏิสัมภิทา 4 (ปัญญาแตกฉาน - analytic insight; discrimination)
       1. อัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ, ปรีชาแจ้งในความหมาย, เห็นข้อธรรมหรือความย่อ ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถคิดแยกแยะกระจายเชื่อมโยงต่อออกไปได้จนล่วงรู้ถึงผล - discrimination of meanings; analytic insight of consequence)
       2. ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม, ปรีชาแจ้งใจหลัก, เห็นอรรถาธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อได้ เห็นผลอย่างหนึ่ง ก็สามารถสืบสาวกลับไปหาเหตุได้ - discrimination of ideas; analytic insight of origin)
       3. นิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ, ปรีชาแจ้งในภาษา, รู้ศัพท์ ถ้อยคำบัญญัติ และภาษาต่างๆ เข้าใจใช้คำพูดชี้แจ้งให้ผู้อื่นเข้าใจและเห็นตามได้ - discrimination of language; analytic insight of philology)
       4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ, ปรีชาแจ้งในความคิดทันการ, มีไหวพริบ ซึมซาบในความรู้ที่มีอยู่ เอามาเชื่อมโยงเข้าสร้างความคิดและเหตุผลขึ้นใหม่ ใช้ประโยชน์ได้สบเหมาะ เข้ากับกรณีเข้ากับเหตุการณ์ - discrimination of sagacity; analytic insight of ready wit; initiative; creative and applicative insight)


http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=155

สี่ อย่างนี้ ย่อมไม่ เต็ม

[๓๑๒] ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พราหมณ์ผู้ประเสริฐชื่อนารทะ รู้ชัดซึ่งคาถาทั้งเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดของพญาแร้งอานนท์แล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ในเวลานั้นว่า ดูกรพญานก ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้ากล่าว
มหาสมุทร ๑
พราหมณ์ ๑ พระราชา ๑ 
หญิง ๑ 
สี่อย่างนี้ ย่อมไม่ เต็มแม่น้ำสายใด 
สายหนึ่งอาศัยกามรสทุกอย่าง หญิงยังกระทำความพอใจในชายคนที่ ๙ อีก เพราะฉะนั้น
หญิงจึงชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง หญิงทุกคนกินทุกอย่างเหมือน เปลวไฟ พาไปได้ทุกอย่างเหมือนแม่น้ำ เหมือนกิ่งไม้มีหนาม ย่อมละ ชายไปเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ชายใดพึงวางความรักทั้งหมดในหญิง ชาย นั้นเหมือนดักลมด้วยตาข่าย เหมือนตักน้ำใส่มหาสมุทรด้วยมือข้างเดียว จะพึงได้ยินแต่เสียงมือของตน ภาวะของหญิงที่เป็นโจร รู้มาก หาความ จริงได้ยาก เป็นอาการที่ใครๆ รู้ได้ยาก เหมือนรอยทางปลาในน้ำฉะนั้น หญิงไม่มีความพอ อ่อนโยน พูดเพราะ ให้เต็มได้ยาก เสมอแม่น้ำ ทำ ให้ล่มจม บุคคลรู้ดังนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล หญิงเป็นเหมือน น้ำวน มีมายามาก ทำพรหมจรรย์ให้กำเริบ ทำให้ล่มจม บุคคลรู้ดังนี้ แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล เมื่อหญิงคบบุรุษใด เพราะความพอใจ หรือเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ย่อมเผาบุรุษนั้นโดยพลัน เหมือนไฟป่าเผา สถานที่เกิดของตน ฉะนั้น. http://etipitaka.com/read/thai/28/85/?keywords=%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87

สามัญญผล ๔

[๒๔๒] สามัญญผล ๔ อย่าง ๑. โสดาปัตติผล ๒. สกทาคามิผล ๓. อนาคามิผล ๔. อรหัตตผล

องค์แห่งโสดาบัน ๔


[๒๔๑] องค์แห่งพระโสดาบัน ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความ เลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆพระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระ อรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นนาย สารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความ เลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุ จะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้ เฉพาะตน ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความ เลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติชอบ คือคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นั่นคือพระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรรับของบูชา เป็นผู้ควรรับของต้อนรับ เป็นผู้ควรรับของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นบุญเขตของชาวโลก ไม่มีเขตอื่นยิ่งกว่า ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยศีล ที่พระ อริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อัน ตัณหาและทิฐิ ไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ ฯ

องค์แห่งการบรรลุโสดา๔


[๒๔๐] องค์ของการบรรลุโสดา ๔ อย่าง ๑. สัปปุริสสังเสวะ [การคบสัตบุรุษ] ๒. สัทธัมมัสสวนะ [การฟังพระสัทธรรม] ๓. โยนิโสมนสิการ [การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย] ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ [การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม]

ญาณ๔อย่าง

ญาณ ๔ อย่าง ๑. ธัมมญาณ [ความรู้ในธรรม] ๒. อันวยญาณ [ความรู้ในการคล้อยตาม] ๓. ปริจเฉทญาณ [ความรู้ในการกำหนด] ๔. สัมมติญาณ [ความรู้ในสมมติ]
ญาณ ๔ อย่าง ๑. ทุกขญาณ [ความรู้ในทุกข์] ๒. ทุกขสมุทยญาณ [ความรู้ในทุกขสมุทัย] ๓. ทุกขนิโรธญาณ [ความรู้ในทุกขนิโรธ] ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานญาณ [ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา]

ปธาน ๔

ปธาน๔

       ปธาน ๔ อย่าง
๑. สังวรปธาน       [เพียรระวัง]
๒. ปหานปธาน       [เพียรละ]
๓. ภาวนาปธาน      [เพียรเจริญ]
๔. อนุรักขนาปธาน    [เพียรรักษา]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สังวรปธาน เป็นไฉน  ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย  ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจัก
ขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำ
นั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมโสติน
ทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น
ชื่อว่ารักษาโสตินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในโสตินทรีย์ ฯ




ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม
ฆานินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัส
ครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาฆานินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในฆานินทรีย์ ฯ
ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมชิว
หินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบ
งำนั้น ชื่อว่ารักษาชิวหินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในชิวหินทรีย์ ฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อ
สำรวมกายินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษากายินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในกายินทรีย์ ฯ
รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม
มนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบ
งำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
สังวรปธาน ฯ
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปหานปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย  ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ ย่อมไม่รับไว้ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย  บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึง
ความไม่มี ย่อมไม่รับไว้ซึ่งพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป
ให้ถึงความไม่มี ย่อมไม่รับไว้  ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป
ให้ถึงความไม่มี ย่อมไม่รับไว้ซึ่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วๆ ย่อมละเสีย  บรร
เทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่าปหานปธาน ฯ
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภาวนาปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ
น้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลาย
กำหนัด อาศัยความดับอันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์อันอาศัยความ
สงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญปีติ
สัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัย
ความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญปีติสมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัย
ความคลายกำหนัด อาศัยความดับอันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อันอาศัยความสงัดอาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง
ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน ฯ
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อนุรักขนาปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย  ภิกษุในพระ
ธรรมวินัยนี้ ย่อมตามรักษาสมาธินิมิตอันเจริญที่บังเกิดขึ้นแล้ว คืออัฏฐิกสัญญา ปุฬุวกสัญญา
วินีลกสัญญา วิจฉิททกสัญญา อุทธุมาตกสัญญาผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน
http://etipitaka.com/read?keywords=อุปาทานขัน&language=thai&number=178&volume=11#

อปัสเสนะ๔ อย่าง

อปัสเสนะ ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วเสพของอย่างหนึ่ง ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วเว้นของอย่างหนึ่ง ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง ฯ

อริยวงศ์๔

อริยวงศ์ ๔ อย่าง 
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตาม ได้ และมีปรกติกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้และย่อมไม่ถึงการแสวงหาที่ ไม่ควร ไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่งจีวร และไม่ได้จีวรก็ไม่เดือดร้อน และได้จีวรแล้วก็ไม่เกี่ยว เกาะ ไม่หมกมุ่น ไม่ติดแน่น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ในสันโดษด้วยจีวรนั้น ดูกรผู้มีอายุทั้งหลายภิกษุนี้แล เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม ฯ 

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมี ตามได้ และมีปรกติกล่าวสรรเสริญ ความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และย่อมไม่ถึง การแสวงหาที่ไม่ควร ไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต และไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่เดือดร้อน และได้บิณฑบาตแล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่หมกมุ่น ไม่ติดแน่น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็น เครื่องสลัดออกบริโภคอยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมี ตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นในสันโดษด้วยบิณฑบาต นั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้แล เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม ฯ

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมี ตามได้ และมีปรกติกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และย่อมไม่ถึงการ แสวงหาที่ไม่ควร ไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ และไม่ได้เสนาสนะก็ไม่เดือดร้อน และ ได้เสนาสนะแล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่หมกมุ่น ไม่ติดแน่น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่อง สลัดออกบริโภคอยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นในสันโดษด้วยเสนาสนะนั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้แล เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม ฯ
๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้มีปหานะเป็นที่มายินดี ยินดี แล้วในปหานะ ย่อมเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในภาวนากับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีปหานะเป็นที่มายินดี เพราะความยินดีในปหานะ เพราะความเป็นผู้มีภาวนา เป็นที่มายินดี เพราะความยินดีในภาวนานั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นในปหานะและภาวนานั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้แล เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของ
เก่าอันยอดเยี่
http://etipitaka.com/read?keywords=อุปาทานขัน&language=thai&number=178&volume=11#
เก่าอันยอดเยี่ยม ฯ

อรูป ๔ อย่าง

[๒๓๕] อรูป ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการ ทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สิ้นสุดมิได้ ดังนี้ อยู่ ฯ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดย ประการทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่าน้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้อยู่ ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ ฯ


http://etipitaka.com/read?keywords=อุปาทานขัน&language=thai&number=178&volume=11#

อัปปมัญญา ๔

อัปปมัญญา ๔ อย่าง

 ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอด ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าในที่ทุกสถาน โดยความเป็นตนในสัตว์ทั้งปวง ด้วย ใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียด เบียนอยู่ ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปตลอด ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน โดยความเป็นตนในสัตว์ทั้งปวง ด้วยใจอันประกอบด้วยกรุณาอันไพบูลย์ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความ เบียดเบียนอยู่ ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปตลอด ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน โดยความเป็นตนในสัตว์ทั้งปวง ด้วยใจอันประกอบด้วยมุทิตาอันไพบูลย์ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความ เบียดเบียนอยู่ ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไป ตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้อง ล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน โดยความเป็นตนในสัตว์ ทั้งปวง ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ฯ

วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สิ่งที่ไกลกันแสนไกล ๔ ประการ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไกลกันแสนไกล ๔ ประการ นี้ ๔ ประการเป็นไฉนดูกรภิกษุทั้งหลาย 

ฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่ไกลกันแสนไกลประการที่ ๑ 
ฝั่งนี้และฝั่งโน้นแห่งสมุทร นี้เป็นสิ่งที่ไกลกันแสนไกลประการที่ ๒ 
พระอาทิตย์ยามขึ้นและยามอัสดงคตนี้เป็นสิ่งที่ไกลกันแสนไกลประการที่ ๓ 
ธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ นี้เป็นสิ่งที่ไกลกันแสนไกลประการที่ ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไกลกันแสนไกล ๔ ประการนี้แล ฯ



พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต





จะรู้ว่าเสื่อมจากอกุศลธรรมหรือไม่ ให้พิจารณาธรรม ๔ อย่างในตน

พระสาริบุตรแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ว่า ภิกษุ ภิกษุณี
จะรู้ว่าเสื่อมจากอกุศลธรรมหรือไม่ ให้พิจารณาธรรม ๔ อย่างในตน
 คือความเป็นผู้

ไพบูลด้วย
ราคะ, 
โทสะ, 
โมหะ 
และปัญญาจักษุของผู้นั้นไม่เป็นไปในฐานะที่ควรและไม่ควรอันลึกซึ้ง.http://www.baanjomyut.com/pratripidok/prasudtanpidok/1304.html

๔ ไม่ใช่มิตรแท้

บัณฑิตรู้แจ้งมิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ 
มิตรปอกลอก ๑ 
มิตรดีแต่พูด ๑ มิตรหัวประจบ ๑
มิตรชักชวนในทางฉิบหาย ๑ 
ว่าไม่ใช่มิตรแท้ ดังนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล เหมือนคนเดินทางเว้นทางที่มีภัย ฉะนั้น ฯ

http://etipitaka.com/read?keywords=มิตรแท้&language=thai&number=143&volume=11

มิตร ๔ เป็นมิตรแท้

ดูกรคฤหบดีบุตร มิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ 
มิตรมีอุปการะ ๑ 
มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑
มิตรแนะประโยชน์ ๑ 
มิตรมีความรักใคร่ ๑ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรมีใจดี [เป็นมิตรแท้] ฯ

http://etipitaka.com/read?keywords=มิตรแท้&language=thai&number=143&volume=11

วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ภูมิที่เกิดอันปราศจากความเจริญ มี ๔

อบายภูมิ๔

[อะบายยะพูม] น. ภูมิที่เกิดอันปราศจากความเจริญ มี ๔ คือ 

นรก 

เปรตวิสัย

 อสุรกายภูมิ 

และกําเนิดดิรัจฉาน. (ป. ส. อปาย).

http://dictionary.sanook.com/search/dict-th-th-royal-institute/อบายภูมิ

วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ธรรม ๔ อย่างว่า เป็นไปเพื่อความเลอะเลือน เพื่ออันตรธาน แห่งพระสัทธรรม



ตรัสแสดงธรรม ๔ อย่างว่า เป็นไปเพื่อความเลอะเลือน เพื่ออันตรธาน แห่งพระสัทธรรม คือ


๑. ภิกษุทั้งหลายเรียนพระสูตรด้วยบทพยัญชนะที่ยกขึ้นผิด มีเนื้อความอันแนะนำผิด


๒. ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก


๓.ภิกษุผู้สดับตรับฟังมากไม่สอนผู้อื่นให้ท่อง จำพระสูตรโดยเคารพ เมื่อภิกษุผู้สดับฟังมากเหล่านั้นล่วงลับไป พระสูตรก็ชื่อว่ามีมูลรากอันขาด ( ไม่มีผู้ทรง จำได้ ) ก็ไม่เป็นที่พึ่ง


๔. ภิกษุผู้เป็นเถระเป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เอาแต่นอนหลับทอดธุระในความสงัด ไม่ปรารภ ความเพียรเพื่อบรรลุธรรมที่ยังมิได้บรรลุ ทำให้คนรุ่นหลังถือเป็นตัวอย่าง. ในทางดีทรงแสดงโดยนัย ตรงกันข้าม.



http://th.m.wikipedia.org/wiki/ภิกษุ

กัปป์ที่นับไม่ได้ ๔ อย่าง

ทรงแสดงกัปป์ที่นับไม่ได้ ๔ อย่าง๑ 
 คือ
สังวัฏฏกัปป์. 
สังวัฏฏัฏฐายีกัปป์, 
วิวัฏฏกัปป์, 
วิวัฏฏัฏฐายีกัปป์

 ทั้งสี่กัปป์นี้นับไม่ได้โดยง่ายว่า เท่านี้ปี, เท่านี้ ร้อยปี, พันปี, แสนปี.