วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

กำเนิด ๔

๑. ชลาพุชกำเนิด ต้องอาศัยเกิดจากท้องมารดา คลอดออกมาเป็นตัวเลย แล้วค่อย ๆ เติบโตขึ้นตามลำดับ
๒. อัณฑชกำเนิด ต้องอาศัยเกิดจากท้องมารดาเหมือนกัน แต่มีฟองห่อหุ้ม
๓. สังเสทชกำเนิด ไม่ได้อาศัยเกิดจากท้องมารดา แต่อาศัยเกิดจากต้นไม้ ดอกไม้ โลหิต หรือที่เปียกชื้น
๔. โอปปาติกกำเนิด ไม่ได้อาศัยเกิดจากท้องมารดา ไม่ได้อาศัยสิ่งใดเกิด แต่ เกิดโดยโผล่ขึ้นมาและโตใหญ่เต็มที่ในทันทีทันใดนั้นเลย สัตว์ที่เป็นโอปปาติกกำเนิด

http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd25.htm

ปฏิสัมภิทา หมายถึงปัญญาแตกฉานมี ๔



ปฏิสัมภิทา หมายถึงปัญญาแตกฉานมี ๔ ประการ คือ

(๑) อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ
(๒) ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม
(๓) นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติคือภาษา
(๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ (ขุ.ขุ.อ. ๘/๒๐๖)

อุปาทาน 4

อุปาทาน 4 อย่าง
  1. กามุปาทาน ยึดติดในกาม
  2. ทิฏฐุปาทาน ยึดถือในทิฏฐิ
  3. สีลัพพัตตุปาทาน ติดยึดในศีลวัตรที่งมงาย
  4. อัตตวาทุปาทาน ยึดมั่นในตัวเอง ของตัวเอง
พุทธภาษิตมีอยู่ว่า "เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว เบญจขันธ์ที่ประกอบอยู่ด้วยอุปาทานนั่นแหละเป็นตัวทุกข์"
ดังนั้น เบญจขันธ์ที่ไม่มีอุปาทานครอบงำนั้นหาเป็นทุกข์ไม่ ฉะนั้น คำว่าบริสุทธิ์หรือหลุดพ้นจึงหมายถึง การหลุดพ้นจากอุปาทานว่า"ตัวเรา" ว่า"ของเรา"นี้โดยตรง ดังมีพุทธภาษิตว่า
  "คนทั้งหลายย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน"

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

สภาพแห่งทุกข์เป็นทุกข์๔

สภาพที่บีบคั้นแห่งทุกข์ ๑
สภาพแห่งทุกข์ อันปัจจัยปรุงแต่ง ๑
สภาพที่ให้เดือดร้อน ๑
สภาพที่แปรไป ๑

สภาพแห่งทุกข์เป็นทุกข์๔ ประการนี้ เป็นของแท้



สภาพ
ความหมาย
น. ความเป็นเองตามธรรมดาหรือตามธรรมชาติ เช่น สภาพความเป็นอยู่ สภาพดินฟ้าอากาศ, ลักษณะในตัวเอง; ภาวะ, ธรรมชาติ. (ป. สภาว; ส. สฺวภาว).


แปร
ความหมาย
[แปฺร] ก. เปลี่ยนกลายไปจากลักษณะหรือภาวะเดิม.

วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556

อาหาร ๔

อาหาร ๔ อย่างเป็นไฉน? คือ
             ๑ อาหาร คือ คำข้าว หยาบหรือละเอียด
             ๒ อาหาร คือ ผัสสะ
             ๓ อาหาร คือ ความคิดอ่าน [จงใจ]
             ๔ อาหาร คือ วิญญาณ [ความรู้แจ้งทางทวาร ๖]

http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=1518&Z=1753&pagebreak=0

วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

ความสังเวชแห่งกุลบุตรผู้มีศรัทธา ๔



  

สถานที่ควรเห็นควรให้เกิดความสังเวชแห่งกุลบุตรผู้มีศรัทธาว่า

พระตถาคตประสูติ ณ ที่นี้ ๑

พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ที่นี้ ๑

พระตถาคตทรงประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ณ ที่นี้ ๑

พระตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิ-เสสนิพพานธาตุ ณ ที่นี้ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สถานที่ควรเห็น ควรให้เกิด

ความสังเวชแห่งกุลบุตรผู้มีศรัทธา ๔

แห่งนี้แล.

จบสังเวชนียสูตรที่  ๘


ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔

ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ    ย่อมเป็นผู้ควร
ของคำนับ    ควรของต้อนรับ   ควรแก่ทักษิณา   ควรทำอัญชลี    เป็นนาบุญ
ของโลก   ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า   ฉันนั้นเหมือนกันแล   ธรรม  ๔  ประการ
เป็นไฉน     คือ  ซื่อตรงประการ  ๑   ว่องไวประการ    ๑  อดทนประการ  ๑
สงบเสงี่ยมประการ  ๑    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม  ๔
ประการนี้แล    ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ   ควรของต้อนรับ    ควรแก่ทักษิณา
ควรทำอัญชลี  เป็นนาบุญของโลก  ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า

.http://www.thepalicanon.com/91book/book35/301_350.htm

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

ปรมัตถธรรมมี ๔

ปรมัตถธรรมมี ๔ คือ
จิตปรมัตถ์ ๑  
เจตสิกปรมัตถ์ ๑
รูปปรมัตถ์ ๑
นิพพานปรมัตถ์ ๑