วันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2557

ฌาน ๔



ฌาน ๔

ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยปฐมฌาน

ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยทุติยฌาน

ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยตติยฌาน

ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยจตุตถฌาน






พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
หน้าที่ ๓๓๘/๗๕๔ข้อที่ ๒๓๗





ฌาน (บาลี) หรือ ธยาน (สันสกฤต) หมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก

http://etipitaka.com/read?keywords=%E0%B8%8C%E0%B8%B2%E0%B8%99+%E0%B9%94&language=thai&number=338&volume=1

วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557

ตระกูล ๔



ตระกูล ๔ คือ

ตระกูลกษัตริย์

ตระกูลพราหมณ์

ตระกูลแพศย์

ตระกูลศูทร์.




พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
หน้าที่ ๖๔๖/๗๑๗ข้อที่ ๗๘๕-๗๘๖

วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557

ทักขิณาวิสุทธิ ๔ อย่าง



ทักขิณาวิสุทธิ ๔ อย่าง 
๑. ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกมีอยู่ ฯ 
๒. ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายกมีอยู่ ฯ
๓. ทักขิณาไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหกมีอยู่ ฯ 
๔. ทักขิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหกมีอยู่ ฯ



พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
หน้าที่ ๑๙๑/๒๘๘ข้อที่ ๒๖๗-๒๗๐

http://etipitaka.com




ปฏิคาหก แปลว่าผู้รับ
ทายก ที่แปลว่า ผู้ให้

การได้อัตภาพ ๔ อย่าง

การได้อัตภาพ ๔ อย่าง

๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของตนอย่างเดียว ไม่ตรง กับความจงใจของผู้อื่นมีอยู่ ฯ 
๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของผู้อื่นเท่านั้น ไม่ตรง กับความจงใจของตนมีอยู่ ฯ 
๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของตนด้วย ตรงกับความ จงใจของผู้อื่นด้วยมีอยู่ ฯ
 ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การได้อัตภาพที่ไม่ตรงกับความจงใจของตน ทั้งไม่ตรงกับ ความจงใจของผู้อื่นมีอยู่ ฯ



พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
หน้าที่ ๑๙๐/๒๘๘ข้อที่ ๒๖๔-๒๖๖

การก้าวลงสู่ครรก์ ๔ อย่าง



การก้าวลงสู่ครรก์ ๔ อย่าง


๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา เป็นผู้ไม่รู้สึกตัว อยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้ไม่รู้สึกตัว คลอดจากครรภ์มารดา นี้การก้าวลงสู่ ครรภ์ข้อที่หนึ่ง ฯ


๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้รู้สึกตัวก้าวลง สู่ครรภ์มารดา แต่เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้การก้าวลงสู่ครรภ์มารดาข้อที่สอง ฯ


๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้รู้สึกตัวก้าวลง สู่ครรภ์มารดา เป็นผู้รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา แต่เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้การ ก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่สาม ฯ


๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้รู้สึกตัวก้าวลงสู่ ครรภ์มารดา เป็นผู้รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้การก้าวลง สู่ครรภ์ข้อที่สี่ ฯ



พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
หน้าที่ ๑๙๐/๒๘๘ข้อที่ ๒๖๔-๒๖๖


http://etipitaka.com/read?keywords=%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%86%E0%B8%B0&language=thai&number=188&volume=11#

คันถะ ๔ อย่าง

คันถะ ๔ อย่าง

๑.อภิชฌากายคันถะ [เครื่องรัดกายคืออภิชฌา]
๒. พยาปาทกายคันถะ [เครื่องรัดกายคือพยาบาท] 
๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ [เครื่องรัดกายคือสีลัพพตปรามาส] 
๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ [เครื่องรัดกายคือความแน่ว่าสิ่งนี้ เป็นจริง] ฯ


พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
หน้าที่ ๑๘๙/๒๘๘ข้อที่ ๒๖๐-๒๖๓





อภิชฌา[อะพิดชา] น. ความโลภ ความอยากได้. (ป.).


พยาบาท [พะยาบาด] น. การผูกใจเจ็บคิดจะแก้แค้น การคิดปองร้าย ในคำว่าผูกพยาบาท. ก. ผูกใจเจ็บและอยากแก้แค้น ปองร้าย เช่น อย่าไปพยาบาทเขาเลย. (ป. พฺยาปาท วฺยาปาทส. วฺยาปาท).


สีลัพพตปรามาส (บาลี: สีลพฺพตปรามาส) เป็นศัพท์ในพระไตรปิฎกเถรวาท หมายความถึงความยึดมั่นถือมั่นอยู่ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือศีลพรตภายนอกพระพุทธศาสนา หรือความยึดมั่นถือมั่นในการบำเพ็ญเพียงกายและวาจาตามหลักธรรมพระพุทธศาสนา (ศีล) ของตนว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ ซึ่งเป็นเหตุให้ละเลยการปฏิบัติทางด้านจิตใจหรือการใช้ปัญญาเพื่อหลุดพ้น

อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ





วิสังโยคะ ๔ อย่าง

วิสังโยคะ ๔ อย่าง 
๑. กามโยควิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคือกาม] 
๒. ภวโยควิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคือภพ] 
๓. ทิฏฐิโยควิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคือทิฐิ] 
๔. อวิชชาโยคะวิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคืออวิชชา]


พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
หน้าที่ ๑๘๙/๒๘๘ข้อที่ ๒๖๐-๒๖๓


http://etipitaka.com/read?keywords=%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%86%E0%B8%B0&language=thai&number=188&volume=11#

โอฆะ ๔ อย่าง

โอฆะ ๔ อย่าง

๑. กาโมฆะ [โอฆะคือกาม] 
๒. ภโวฆะ [โอฆะคือภพ] 
๓. ทิฏโฐฆะ [โอฆะคือทิฐิ] 
๔. อวิชโชฆะ [โอฆะคืออวิชชา]


พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
หน้าที่ ๑๘๘/๒๘๘ข้อที่ ๒๕๕-๒๕๙


http://etipitaka.com/read?keywords=%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%86%E0%B8%B0&language=thai&number=188&volume=11

สัจฉิกรณียธรรม ๔ อย่าง

สัจฉิกรณียธรรม ๔ อย่าง

 ๑. พึงทำให้แจ้งซึ่งขันธ์ที่ตนเคยอยู่อาศัยในกาลก่อนด้วยสติ
 ๒. พึงทำให้แจ้งซึ่งจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลายด้วยจักษุ
 ๓. พึงทำให้แจ้งซึ่งวิโมกข์แปดด้วยกาย
 ๔. พึงทำให้แจ้งซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายด้วยปัญญา


พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
หน้าที่ ๑๘๘/๒๘๘ข้อที่ ๒๕๕-๒๕๙

http://etipitaka.com

กรรม ๔ อย่าง

กรรม ๔ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมเป็นฝ่ายดำ มีวิบากเป็นฝ่ายดำมีอยู่ 
๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมเป็นฝ่ายขาว มีวิบากเป็นฝ่ายขาวมีอยู่
๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมที่เป็นทั้งฝ่ายดำและฝ่ายขาว มีวิบากทั้งฝ่ายดำฝ่ายขาวมีอยู่ 
๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมที่ไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไป เพื่อความสิ้นกรรมมีอยู่ ฯ


พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๑พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรคหน้าที่ ๑๘๘/๒๘๘ข้อที่ ๒๕๕-๒๕๙

http://etipitaka.com/read?keywords=%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%86%E0%B8%B0&language=thai&number=188&volume=11

ปัญหาพยากรณ์ ๔ อย่าง

ปัญหาพยากรณ์ ๔ อย่าง

๑. เอกังสพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องแก้โดยส่วนเดียว
๒. ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องย้อนถามแล้วจึงแก้
๓. วิภัชชพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องจำแนกแล้วจึงแก้ 
๔. ฐปนียปัญหา ปัญหาที่ควรงดเสีย ฯ


พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
หน้าที่ ๑๘๘/๒๘๘ข้อที่ ๒๕๕-๒๕๙

http://etipitaka.com/read?keywords=%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%86%E0%B8%B0&language=thai&number=188&volume=11

โยคะ ๔ อย่าง

ยคะ ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉน?
ได้ แก่
โยคะคือกาม ๑
โยคะคือภพ ๑
โยคะคือทิฏฐิ ๑
โยคะคืออวิชชา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ อย่างนี้แล.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละโยคะ ๔ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ


พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หน้าที่ ๘๗/๔๖๙ข้อที่ ๓๓๓-๓๓๗
http://etipitaka.com/read?keywords=%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%8F%E0%B8%90%E0%B8%B4+%E0%B9%95+%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%89%E0%B8%99&language=thai&number=87&volume=19