วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

จักร ๔


จักร ๔
 หรือ ธรรมที่เป็นหลักปฏิบัติอันจะนำไปสู่ความดีงาม ความเจริญก้าวหน้า หรือ ธรรมที่เป็นเครื่องช่วยให้สามารถสร้างความดีอื่นๆได้ ทุกอย่าง และช่วยให้ประสบความเจริญก้าวหน้าในชีวิต อย่างมั่นคง 
  ๑. ตั้งอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม (ปฏิรูปเทส วาสะ)  ปฏิรูป แปลว่า เหมาะสมหรือสมควร เทสะ แปลว่าสถานที่หรือท้องถิ่น ดังนั้น  ปฏิรูปเทส วาสะ จึงควรหมายถึงการอยู่ในท้องถิ่นอันสมควร คืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีมีความพร้อม แต่บางท่านก็แปลว่า การอยู่ในประเทศอันสมควรซึ่งฟังแล้วยากต่อการปฏิบัติหรืออาจก่อให้เกิดจินตนาอื่นที่คลาดเคลื่อนต่อไปได้ สำหรับ คนฝรั่งให้ความหมายของ “ปฏิรูปเทส วาสะ”  ว่า living in a suitable region; good or favourable environment หรือ residing in a suitable locality คนจีนให้ความหมายว่า “ฮวงจุ้ย” หรือ ศาสตร์แห่งการสร้างความสมดุลย์ให้กับชีวิต และความเจริญรุ่งเรืองในกิจการ หลักการเลือกทำเลพื้นที่และเทคนิคการจัดสมดุลของพื้นที่ให้เหมาะสมกับประเภทของกิจการนั้น ๆ  อย่างไรก็ตาม "ปฏิรูปเทส วาสะ" มีความสำคัญ เป็นธรรมข้อแรกที่พระพุทธองค์นำมาเป็นคำสอนเพื่อความเจริญก้าวหน้าในชีวิต
   ๒. เสาะเสวนากับคนดี (สัปปุริ สูปัสสยะ) หมายถึง คบสัตบุรุษ, คบคนดี, ได้คนดีเป็นที่พึ่งเช่นเดียวกับการที่ผู้น้อย ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ ตามฐานะของตน เรามาพิจารณาในรายละเอียดว่า สัตบุรุษ หมายถึงอะไร สัตบุรุษก็คือคนที่มีคุณธรรม คนที่เป็นสัมมาทิฐิ คนที่ประพฤติธรรมเป็นปกติ ในทางปฏิบัติคือคนที่ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการ คือ  สัปปุริสธรรมมี ๗ ประการ ดังนี้  ๑) อัตถัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักวิเคราะห์สาเหตุของสถานการณ์และความเป็นไปของชีวิต  ๒) ธัมมัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักวิเคราะห์สาระและผลอันเกิดจากสาเหตุดังกล่าว  ๓) อัตตัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักวิเคราะห์ตนเองทั้งในด้านความรู้ คุณธรรม และความสามารถ  ๔) มัตตัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักหลักของความพอดี การดำเนินชีวิตพอเหมาะพอควร  ๕) กาลัญญุตา คือ ความเป็นรู้จักปฏิบัติตนให้ถูกกาลเทศะ  ๖) ปริสัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้ปฏิบัติ การปรับตนและแก้ไขตนให้เหมาะกับสภาพของกลุ่มและชุมชน  ๗) ปุคคลัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับบุคคลที่มีความแตกต่างกัน  สรุปว่าคนดีที่พระพุทธศาสนายกย่อง มิได้เป็นคนงมงายหรือเป็นคนซื่อจนเซ่อ แต่เป็นคนฉลาดมีเหตุผล รู้จักใช้ความคิด วางตัวได้ดีและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่เหมาะสม คนฝรั่งให้ความหมายของ “สัปปุริ สูปัสสยะ” ไว้ว่า association with good people นอกจากนั้นยังสอนให้ในการทำธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องมีที่ปรึกษา ผู้มีประสบการณ์ มีความเก๋าเกมส์ สำหรับให้คำแนะนำ ให้รู้จักศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่นที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว ซึ่งเป็นการศึกษาที่เร็วที่สุด แล้วนำมาเป็นบทเรียนหรือประยุกต์ใช้กับตนเอง     ๓. ตั้งตนไว้ถูกวิถี (อัตตสัมมา ปณิธิ) หมายถึง การตั้งเป้าหมายของชีวิต ทั้งร่างกายจิตใจ คิดมุ่งหมาย นำตนไปให้ถูกทาง เพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมาย หรือเป้าหมายที่ดี คนฝรั่งให้ความหมายของ “อัตตสัมมา ปณิธิ”  ไว้ว่า setting oneself in the right course; aspiring and directing oneself in the right way; perfect self-adjustment; thorough pursuit or development of one’s personality ดังนั้น อัตตสัมมา ปณิธิ จึงหมายถึง การไม่คิด ไม่พูด หรือไม่ปฏิบัติตนออกนอกลู่นอกทางไม่ว่าจะทำสิ่งใดก็ยังดำรงอยู่ในวิถีทางที่ถูกต้องเสมอทุกอย่างล้วนมุ่งสู่เป้าหมายคือความสำเร็จ ความก้าวหน้าของชีวิตตลอด ทั้งนี้จะต้องทราบถึง “สัปปุริสธรรม ๗” คือ เป็นผู้รู้จักใน เหตุ, ผล, ตน, ประมาณ, เวลา, บุคคล และประชุมชน   
 ๔. เป็นผู้มีกรรมเก่ามาดี (ปุพเพ กต ปุญญตา) หมายถึงเป็นผู้มีกรรมเก่ามาดี เพื่อสอนให้คนตั้งอยู่ในความไม่ประมาท หากปัจจุบันยังไม่เจริญก้าวหน้าก็ควรเร่งทำความดี ภายหน้าก็จะพบกับความเจริญก้าวหน้าในที่สุดจนได้ ข้อที่ ๔ ซึ่งได้แก่ ปุพเพ กต ปุญญตา หมายถึงเป็นผู้มีกรรมเก่ามาดี เพื่อสอนให้คนตั้งอยู่ในความไม่ประมาท หากปัจจุบันยังไม่เจริญก้าวหน้าก็ควรเร่งทำความดี ภายหน้าก็จะพบกับความเจริญก้าวหน้าในที่สุดจนได้  คนฝรั่งให้ความหมายว่า having formerly done meritorious deeds; to have prepared oneself with good background